นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหลวงพ่อศิลาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่ เคารพสักการะของชาวเมืองทุ่งเสลี่ยมในจังหวัดสุโขทัยซึ่งพระพุทธรูปองค์ นี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและลึกลับ
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นปางนาคปรกทำด้วยศิลา นั่งขัดสมาธิบนฐานทรง สามเหลี่ยมทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรม้วนล้อมรอบองค์พระและแกะสลัก ออกมาจากหินทรายสีเทาภายหลังยุคลพบุรีโดยช่างชาวลพบุรี มีการ สันนิษฐานกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีอายุมากกว่า800 ปี และถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2572 โดยชาวบ้านที่ไปเก็บมูลค้างคาวจากถ้ำเจ้าราม ในปีเดียวกัน นั้นเองพระพุทธรูปถูกขนย้ายมาประดิษฐานที่วัดทุ่งเสลี่ยม จนมาถึงปีพ.ศ. 2529 พระพุทธรูปถูกขโมยไป แต่โชคดีที่ทราบว่าอยู่ที่อเมริกา พระพุทธรูป ถูกจำหน่ายในงานประมูลที่จัดขึ้นโดยบริษัทSotheby ในเมืองลอนดอนในปี พ.ศ. 2531 โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะเก้าชิ้นในหมวด"เขมร ไทย อินเดียและศิลปะแบบหิมาลายัน"ราคาขายในตอนนั้นมีราคา80,000 ปอนด์
เป็นที่เข้าใจกันว่าเจ้าของได้ซื้อพระพุทธรูปมาโดยชอบธรรมและเขาได้ ครอบครองสิ่งของโดยถูกกฎหมาย รัฐบาลไทยได้ทำการสืบสวนเรื่องนี้ในปี พ.ศ. 2539 และมีการตกลงที่จะจ่ายเงิน200,000 เหรียญสหรัฐเพื่อนำหลวงพ่อ ศิลากลับคืนสู่ประเทศไทย
ในเวลานั้นเป็นช่วงปีกาญจนาภิเษกเฉลิมฉลองการครองราชย์สมบัติครบ 50 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจาก19ปีผ่านไป ในที่สุดหลวง พ่อศิลาได้กลับคืนสู่ประเทศไทยโดยสวัสดิภาพ
หลังจากที่มีการค้นพบพระพุทธรูปเป็นครั้งแรกในถ้ำศิลาซึ่งมีฝูงค้างคาว อาศัยอยู่หลายล้านตัว ชาวบ้านและหลวงพ่อศิลานั้นมีความผูกพันอย่าง ใกล้ชิดมาหลายศตวรรษ สำหรับชาวไทยแล้วความเชื่อและพิธีกรรมนั้นยาก ที่จะแยกออกจากกันและมีรากฐานมาจากธรรมเนียมท้องถิ่นสมัยโบราณ น่า แปลกที่ว่าค้างคาวจะออกหาอาหารในเวลากลางคืนและหลับในถ้ำในช่วง กลางวัน ฝูงค้างคาวบินตรงไปที่สนามบินในวันที่พระพุทธรูปกลับมาถึง ประเทศไทย ที่น่าแปลกและน่าตื่นเต้นขึ้นไปอีกคือค้างคาวบินยังงาน พิธีกรรมสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธรูป
ต่อไปนี้เป็นภาพสเก็ตช์ภาพฝาผนังโดยคุณเกรียงไกร เมืองมูลที่ดิฉันเคย ได้สัมภาษณ์มาก่อน เพลงที่เปิดไปพร้อมกับภาพเสก็ตช์คือเพลง"Blue Day (กีตาร์)" ซึ่งเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
|