อินไซท์

April 2013

t05-cr-thai

จานีน ยโสวันต์

ตอนปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ดิฉันพบกับศิลปินสองท่านที่ได้รับ
เงินทุนจากโครงการ "ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี" ทั้งคู่มาที่งาน
ประมูลภาพเขียนที่จังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันจึงเชิญทั้งสองมาสัมภาษณ์โดย
ทันที

ศิลปินคนแรกคือคุณอนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรีที่ดิฉันได้เขียนบทความเรื่องผ้าห่อศพ
ลงใน Scene4 คนที่สองคือคุณทิพเนตร์ แย้มมณีชัย อาจารย์จากคณะจิตรกรรม
ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร

จุดนัดพบของเราอยู่ที่วัดพระสิงห์ วัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดที่มีชื่อเสียงและภาพ
จิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ทั้งสองคนรออยู่ที่วิหารลายคำด้านหลังพระอุโบสถ ใน
วันนั้นผู้คนจำนวนมากมาเยี่ยมชมวัด จากนั้นพวกเราตัดสินใจไปเยี่ยมไปเยี่ยมเมือง
หลวงเก่าล้านนาเวียงกุมกาม อำเภอสารภีเพราะว่าศิลปินทั้งสองคนยังไม่เคยไปที่
นั่นมาก่อนและพวกเขามีความกระตือรือร้นที่จะไปมาก การสัมภาษณ์ในวันนั้นจะ
เน้นที่ดิฉันและคุณทิพเนตร์ แย้มมณีชัย

จานีน: ดิฉันเขียนเรื่องเกี่ยวกับศิลปินในประเทศไทยมาหลายปีและศิลปินหลาย
คนเคยเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ดิฉันทราบว่าพวกคุณทั้งสองคน
จบมาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและได้รับรางวัลศิลปินยอดเยี่ยมจากโครงการทุน
สร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี

ทิพเนตร์: ผมแน่ใจว่าคุณทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ที่จริงแล้วในปีพ.ศ. 2476 ศิลป์ พีระศรีและคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ ร่วมกัน
ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียน
ศิลปากร" ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนแห่งนี้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
ปีพ.ศ. 2476 ถึงพ.ศ. 2485 ศิลป์ พีระศรีและพระยาอนุมานราชธนได้พยายาม

silp-bhirasri-cr

อย่างเต็มในการปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อถึงปีพ.ศ.
2486 ในที่สุดโรงเรียนแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร พระยาอนุมาน
ราชธนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการคนที่สองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2486 ถึงพ.ศ.
2492 ในขณะเดียวกัน ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมและ
ประติมากรรมจนกระทั่งท่านเสียชีวิตลงในปีพ.ศ. 2505 ในมุมมองของผม
ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีเป็นชาวอิตาเลียนที่อุทิศชีวิต จิตวิญญาณ กำลังกาย และ
ทรัพย์สินเงินทองช่วยเหลือนักศึกษาที่ทำงานกับท่าน นี่เป็นหนึ่งเหตุผลว่าทำไม
นักศึกษาศิลปากร ถึงชื่นชม ให้ความเคารพนับถือ และมอบความไว้วางใจให้อย่าง
สิ้นเชิง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าท่านเป็นศิลปินที่เยี่ยมยอด เป็นครูที่อุทิศตน
และเป็นผู้มีมนุษยธรรม

จานีน: ดิฉันทราบว่าคุณวิสูตร เจริญพร ภรรยาของเขาคุณเพ็ญจันทร์ เปรมวุฒิ และ
คุณจักรพันธ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ปีพ.ศ. 2543 เคยเป็นเพื่อน
ร่วมชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งสามคนเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์
ศิลป์ พีระศรี

ทิพเนตร์: ก็เหมือนกับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรทุกคนครับ ผมชื่นชมและ
เคารพศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมาก ท่านเป็นแบบอย่างให้กับศิลปินทุกคนที่มี
ความปรารถนาจะสร้างงานศิลปะที่โดดเด่นและเป็นคนดีในเวลาเดียวกัน

จานีน: ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับทุนที่คุณได้รับ ทำไมทุนนี้จึงสำคัญมากๆสำหรับ
คุณและศิลปินคนอื่นๆ

ทิพเนตร์: ผมเป็นหนึ่งในเก้าคนที่ได้รับรางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม
ศิลป์ พีระศรีครั้งที่ 9 ประจำปีพ.ศ. 2552 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา รางวัลนี้จะ
มอบให้กับศิลปินยอดเยี่ยมทุกปีและในปีพ.ศ. 2556 นี้ก็จะเป็นเวลาของทุน
สร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 13 หลายๆคนบอกว่ารางวัลนี้จะมอบ
ให้กับศิลปินที่สร้างผลงานศิลปะคุณภาพเยี่ยม ในฐานะที่เป็นนักศึกษาศิลปากร
ทุกคนรวมทั้งผมพยายามเป็นอย่างมากเพื่อให้ได้รับเลือกเพราะพวกเรารักและ
เคารพศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

จานีน: คุณได้แรงบันดาลใจทำงานศิลปะอย่างไร

ทิพเนตร์: ตอนที่ผมยังเด็กผมรักการวาดภาพมากและในอีกหลายปีต่อมาผมเป็น
ตัวแทนโรงเรียนให้กับการแข่งขันวาดภาพ บางครั้งผมได้รางวัลแต่ก็มีหลายครั้งที่
ผมไม่ชนะการแข่งขัน ในเวลานั้นผมรักการแข่งขันมากเพราะว่ามันสนุกและผม

Scene4 Magazine: The Arts of Thailand - Interview with Tippanet Yaemmaneechai  | Janine Yasovant | April 2013 | www.scene4.com

สามารถเที่ยวไปได้หลายที่
ตอนมัธยมปลายโปรแกรมการเรียนของผมคือวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แต่ผม
เปลี่ยนความสนใจกลับมาที่งานศิลปะซึ่งเป็นวิชาที่ผมชอบที่สุดเช่นกัน ผมตั้งใจที่
จะสมัครเรียนในคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ที่มหาวิทยาลัย
ศิลปากรแต่วันนั้นผมยังไม่แน่ใจว่าผมจะผ่านหรือไม่เนื่องจากขาดการเตรียมตัว
และฝึกฝน โชคดีที่วิชาวาดเส้นไม่ยากนักเพราะแบบวาดภาพเป็นอันเดียวกับที่ผม
ใช้ฝึกทักษะการวาดรูป
ชีวิตในมหาวิทยาลัยสอนสิ่งที่มีคุณค่ามากมาย ผมศึกษาศิลปะหลายชนิด เทคนิค
ศิลปะต่างๆและศิลปะไทย ผมพบว่าศิลปะไทยมีคุณค่าและตีเป็นเงินไม่ได้ ซึ่งคน
รุ่นก่อนถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและความรู้ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับแรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะและผมอยากให้คนไทย
ทุกคนซาบซึ้งกับศิลปะและวัฒนธรรมไทยมากกว่าความเจริญทางเทคโนโลยี

จานีน: อะไรเป็นสิ่งสำคัญในงานที่ผ่านมาของคุณ

ทิพเนตร์: งานต่างๆถูกสร้างขึ้นให้สะท้อนความคิดการแสดงวัฒนธรรมไทยใน
อดีตและได้ผสมผสานอย่างกลมเกลียวกับสิ่งของ วัสดุจากสินค้าเทคโนโลยีใน
ปัจจุบันเพื่อแสดงแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในสังคมวันนี้

t01-cr

งานศิลปะชุดนี้ใช้เทคนิคและวิธีการที่ปรับปรุงมาจากงานก่อนหน้านั้นเช่น "การ
เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม 2537 และชุดจินตภาพแห่งวัฒนธรรมใหม่2538 -2542"
โดยเฉพาะงานชิ้นล่าสุดนั้น เทคนิค วิธีการและการจัดรูปแบบนั้นมีความประณีต
และเป็นมืออาชีพมากกว่าเดิม ส่วนการเตรียมพื้นที่ทำงาน ผมพยายามใช้เทคนิค
จากช่างไทยโบราณที่ใช้ดินสอพองและกาวกระถิน

t07-cr

จานีน: ดิฉันอยากทราบมุมมองในการทำงานศิลปะของคุณ

ทิพเนตร์: ผมได้พูดเรื่องมุมมองไว้ตรงคำถามข้อที่ผ่านมา สำหรับผลงานที่ทำ
เสร็จแล้ว ผมอยากให้ทุกคนเห็นหนทางใหม่ๆ และความก้าวหน้าในงานแต่ละชิ้น
การปรับปรุงเช่นนี้เป็นแนวคิด เทคนิค และวิธีการที่ดีกว่าเพื่อการหามิติใหม่ๆ ใน
การสร้างสรรค์งานศิลปะ

จานีน: คุณอยากบอกอะไรกับโลกบ้าง

ทิพเนตร์: ผมอยากบอกเรื่องคุณค่าวัฒนธรรมไทยซึ่งเหมือนเป็นตัวแทนทางจิต
วิญญาณในแต่ละยุคสมัย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากอดีตถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน
ดูแลจิตวิญญาณที่มีต่อความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเห็นอกเห็นใจกันเพื่อป้องกัน
การแข่งขัน ความขัดแย้ง และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนด้วยวิธีการที่ผิด ใน
สังคมปัจจุบันหลายคนเชื่อในคุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าทางวัฒนธรรม สิ่ง
เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้ผมสร้างผลงานทางศิลปะ

งานศิลปะชุดถัดไปของผมยังอยู่ในช่วงการจัดสร้าง มีการค้นคว้าทางด้านเทคนิค
วิธีการและรูปแบบ ผมกะว่าใช้สีฝุ่นและสีน้ำมันด้วยกันเวลาสร้างผลงาน สีฝุ่นมา
จากธรรมชาติและภาพเขียนกิจกรรมฝาผนังในวัดไทยส่วนใหญ่ใช้สีฝุ่นเป็นหลัก
อยางไรก็ตามสีน้ำมันเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำขึ้นโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นี่เป็น
การใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดสีและศิลปินชาวตะวันตกหลายคนใช้สีน้ำมันเวลาเขียน
ภาพ ส่วนผสมของสีทั้งสองชนิดน่าจะเข้ากันได้ดี ผมกำลังคิดอยู่ว่าแนวคิด
ตะวันออกพบเจอกับแนวคิดตะวันตกได้อย่างไร้รอยเชื่อมต่อเพื่อหาแรงบันดาลใจ
และขยายนแนวคิดจากผลงานที่ผ่านมา

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2013 Janine Yasovant
©2013 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine - Arts and Media

®

April 2013

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | inPrint | Perspectives | Books | Blogs | Comments | Contacts&Links Masthead | Submissions | Advertising | Special Issues | Contact Us | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Archives

Search This Issue

 Share This Page

feed-icon16x16-o RSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2013 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 13th year of publication with
comprehensive archives of over 7000 pages 

HollywoodRed-1
greenlight-ad1
Character Flaws by Les Marcott at www.aviarpress.com
Gertrude Stein-In Words and Pictures - Renate Stendhal
Scene4 Magazine - Thai Airways | www.scene4.com