ดิฉันอยากจะบอกเล่าให้ฟังเกี่ยวกับศิลปินที่ดิฉันติดตามมาหลายปี ดิฉันได้พบเห็น
ความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นอยู่เสมอกับภาพเขียนที่สดใส ตัวอย่างเช่นภาพเขียนรูป
หนุมานที่เป็นตัวละครทหารวานรจากเรื่องรามเกียรติ์ (ที่ดัดแปลงมาจากเรื่อง
รามายณะของประเทศอินเดีย) นั้นง่ายที่จะจดจำได้ สีที่ตัดกันนั้นนั้นมีความชัดเจน
เพียงพอที่จะเห็นรายละเอียดอื่นๆของภาพเขียนได้
อาจารย์วัฒนา พูลเจริญเป็นศิลปินที่มีความชื่นชอบในงานอิมเพรสชั่นนิสต์ เริ่มต้น
ทำงานด้านศิลปะตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 – 2526 เป็นครูสอนศิลปะ ใช้เวลาอีก 17 ปี
(พ.ศ. 2526 - 2543) ทำงานในบริษัทโฆษณาก่อนที่จะผันตัวมาเป็นศิลปินอิสระ
ต่อจากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง ครอบครัว การศึกษาและอาชีพ
วัฒนา: ผมเกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ในอำเภอบางพลี จังหวัด
สมุทรปราการทางภาคกลางของประเทศไทย เป็นลูกคนโตจากพี่น้องทั้งหมด
5 คน ผมชอบวิชาศิลปะมาตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา พอจบ
มัธยมศึกษาตอนต้นก็ไปเข้าเรียนที่วิทยาลัยอาชีวศิลป์เป็นเวลา 3 ปีและที่โรงเรียน
เพาะช่างอีก2 ปี วิชาเอกของผมคือจิตรกรรมสากล สุดท้ายผมไปเข้าเรียนที่
วิทยาลัยครูในจังหวัดกาญจนบุรี หลังจากที่เรียนจบแล้วผมไปทำงานเป็นครูสอน
วิชาศิลปะที่โรงเรียนวิสุทธรังษีจังหวัดกาญจนบุรีเป็นเวลา 9 ปีจึงได้ลาออกมา
จากนั้นผมมีตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และผู้อำนวยการฝ่ายครีเอทีฟของ
บริษัทโฆษณา CP&S จนถึงการลาออกในปีพ.ศ. 2543 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผมก็
สามารถทำสิ่งที่ผมรักที่สุดนั่นก็คือการวาดรูป หลังจากที่ผมวาดรูปอยู่เพียงลำพัง
เป็นเวลาสองถึงสามปีก็ได้เข้าร่วมในงานนิทรรศการศิลปะทั้งเดี่ยวและกลุ่มอย่าง
ต่อเนื่องกับเพื่อนศิลปินมากกว่า 30 ครั้งจนถึงปัจจุบัน ผมได้สมรสกับคุณสุชาดา
พูลเจริญที่เป็นอาจารย์ และมีลูกสาวที่ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัย
ควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
ผลงานด้านโฆษณา:
- ทำโฆษณาให้กับห้างสรรพสินค้าโรบินสันโดยใช้สิ่งพิมพ์และภาพยนตร์โฆษณา
- ทำโฆษณาให้กับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเอสเค กรุ๊ปเช่น S’fare, P.J., Puppet
- ถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาแนะนำฟิวเจอร์พาร์ค รังสิตที่ประเทศญี่ปุ่น
- ถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาให้กับรถยนต์ “โรเวอร์” ที่ประเทศอังกฤษ
ผลงานด้านศิลปะ (ปีพ.ศ. 2554 - 2560)
- พ.ศ. 2554: งานนิทรรศการศิลปะ“14 Artists by Art Area Group”
บ้านสีลม แกลเลอรี่
- พ.ศ. 2555: งานนิทรรศการศิลปะ “Beautiful Friendship”
โรงแรมอมารี วอเทอร์เกท ประตูน้ำ กรุงเทพ
- พ.ศ. 2558: นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ หอศิลป์ราชดำเนิน
- พ.ศ. 2560: ร่วมในนิทรรศการของสมาคมทัศนศิลป์นานาชาติ แห่งประเทศไทย
ครั้งที่9 "ในหลวง ดวงใจของปวงชน The King of People's Hearts "
ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี
จานีน: อาจารย์รู้สึกอย่างไรตอนที่กลับมาทำงานศิลปะ
วัฒนา: การกลับมาทำงานศิลปะอีกครั้งเป็นความสุขที่แท้จริงที่ผมต้องการมีสิ่งที่
ดีหลายอย่างเช่นการพบกับศิลปินท่านอื่นและร่วมแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตด้วยกัน
ผมได้เป็นตัวเองเพื่อสร้างสรรค์ในสิ่งที่ตนเองทำได้ดี คือเรื่องราวเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมประเพณีไทยและวิถีการดำรงชีวิต ผมพยายามที่จะเก็บเรื่องราวเหล่านี้
ในรูปแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ซึ่งระท้อนให้เห็นการรับรู้เรื่องวิถีชีวิตแบบไทย
จานีน: อยากทราบเรื่องการเดินทางไปทำเวิร์คช็อปที่ฝรั่งเศสครั้งที่ผ่านมา
วัฒนา: ผมมีความปราถนาอยากไปชมต้นฉบับภาพเขียนอิมเพรสชั่นนิสต์ของ
โมเนต์และเพื่อนในประเทศฝรั่งเศส ความฝันผมเป็นจริงเมื่อตอนปลายเดือน
มีนาคมของปีนี้ ผมและเพื่อนศิลปินอีกสองท่านเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส ผม
รู้สึกประทับใจมากที่ได้เห็นผลงานมาสเตอร์พีซของจริง จากนั้นเราได้เดินทางไป
อีกหลายสถานที่ซึ่งโมเนต์และเพื่อนๆใช้ทำงานศิลปะ ความรู้สึกและความทรงจำ
ต่างๆ เหล่านี้มหัศจรรย์มากจริงๆ วันถัดมาที่โรงแรมที่เราพักอาศัย ผมและเพื่อนๆ
ก็ได้ทำงานเวิร์คช็อปร่วมกันวาดรูปความประทับใจในการเดินทางครั้งนี้เสร็จภายใน
เวลาหนึ่งวัน ขนาดของภาพเขียนคือ 70 ซม. x 400 ซม. นั่นเป็นความทรงจำที่ไม่
อาจลืมเลือนได้และหวังว่าจะมีโอกาสไปเยือนที่นั่นอีกครั้ง
จานีน: อาจารย์คิดอย่างไรกับวงการศิลปะของประเทศไทย
วัฒนา: วงการศิลปะในประเทศไทยทุกวันนี้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากกว่า
เมื่อก่อนแต่ผมคิดว่าก็ยังคงถูกจำกัดอยู่บ้างในหลายๆ ครั้ง รัฐบาลควรเข้ามา
สนับสนุนและส่งเสริมงานศิลปะให้ผู้คนในประเทศไทยและต่างประเทศได้ชม
แกลเลอรี่แสดงภาพงานศิลปะควรจะมีอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีในทุก
จังหวัด ผมขอพูดตามตรงว่าทักษะทางศิลปะของศิลปินไทยนั้นไม่ได้ด้อยไปกว่า
ศิลปินต่างชาติ ตัวศิลปินเองควรจะร่วมมือกับศิลปินท่านอื่นสร้างงานที่มีคุณภาพ
เพื่อความก้าวหน้าของศิลปะไทยและควรจะละทิ้งความคิดที่ไม่มีสาระว่า “กลุ่ม
ของผมดีที่สุด” หรือ “สถาบันของผมยิ่งใหญ่ที่สุด” ในปัจจุบันนี้ผมคิดว่า
สถานการณ์ด้านศิลปะในประเทศไทยนั้นดีกว่าในอดีตเพราะศิลปินจากทุกสถาบัน
สามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความสามัคคีกัน
|