กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) เป็นหนึ่งในนักเขียนไทยที่มีผลงานชิ้นเอก มากมายเช่นร้อยแก้ว ร้อยกรองและนิยาย เขายังสร้างงานวรรณกรรมที่มี ความสำคัญในด้านการเมือง ศาสนา และปรัชญาด้วยนามปากกาหลายหลากเช่น ศรีบูรพา อิสระชน และอุบาสก บ้านของเขาตั้งอยู่ที่ซอยพระนาง ถนนราชวิถี เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ในตอนนี้บ้านหลังนี้เป็นพิพิธภัณฑ์มูลนิธิศรีบูรพาเพื่อนักเขียน กุหลาบ สายประดิษฐ์ได้รับเกียรติให้เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์และนัก เคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพยอดเยี่ยม บทกลอน “อาชญากรผู้ปล่อยนกพิราบ”ที่ สะท้อนสภาพสังคมในเวลานั้นได้อย่างเจ็บแสบและเขายังเป็นนักแปลอีกด้วย เขาเดินทางไปหลายประเทศเช่นญี่ปุ่น รัสเซีย ออสเตรเลีย เขาถูกจับกุม 2 ครั้ง เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐบาลไทยและสุดท้ายเขาก็ย้ายไปอยู่ที่ ประเทศจีนในช่วงบั้นปลายชีวิต การที่ศรีบูรพาการอุทิศตนเองในเรื่องของหนังสือพิมพ์นั้นเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม สำหรับนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนทุกคน และเขายังเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ เมื่อองค์การยูเนสโกประกาศให้ศรีบูรพาเป็นหนึ่งในนักเขียนยอดเยี่ยมของโลก และยังประกาศวันเกิดครบรอบ 100 ปี ในวันที่ 31 มีนาคม 2548
เรื่องข้างหลังภาพนั้นถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจในปี พ.ศ. 2479 และเรื่องราวได้เพิ่มความตื่นตัวในด้านศีลธรรมในสังคมไทยเมื่อความ รักต้องห้ามของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วกับเด็กหนุ่มนั้นสามารถรับรู้เข้าใจได้ต่างกัน ไปในแต่ละวัฒนธรรมโดยเรื่องข้างหลังภาพนั้นสะท้อนแก่นค่านิยมของสังคมไทย ในช่วงเวลานั้น เนื้อเรื่องย่อของข้างหลังภาพ นพพรที่เป็นนักศึกษาอายุ 22 ปีจากมหาวิทยาลัยริเคียวในประเทศญี่ปุ่นพบกับ คุณหญิงกีรติที่สถานีรถไฟโตเกียว สามีของคุณหญิงกีรติได้ขอให้นพพรเป็นผู้นำ
เที่ยวให้กับกีรติในช่วงฮันนีมูนที่ประเทศญี่ปุ่น โชคไม่ค่อยดีที่นพพรหลงรัก คุณหญิงกีรติแต่ความสำพันธ์ของพวกเขาก็เป็นไปไม่ได้ สามปีต่อมา จุดเปลี่ยน สำคัญของเรื่องคือจะเกิดอะไรขึ้นถ้านพพรกลับมายังประเทศไทยแล้วพบว่า คุณหญิงกีรติที่ตอนนี้กลายเป็นหม้ายเนื่องจากสามีตาย และเธอก็กำลังจะจากโลก นี้ไปในไม่ช้า นวนิยายเรืองนี้มีคำพูดกินใจมากมายแต่บรรทัดที่น่าสนใจที่สุดคือ “ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก” เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2551 ที่ข้างหลังภาพถูกดัดแปลงเป็นละครเวที่ แสดงสดที่ โรงละครเมืองไทยรัชดาลัยตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม – 14 กันยายน พ.ศ. 2551 การแสดงมี 27 รอบ นำแสดงโดยสุธาสินี พุฒินันต์ (แพท) สุกฤษณ์ วิเศษแก้ว (บี้) กำกับโดยธกลเกียรติ วีรวรรณ |