ครั้งหนึ่งดิฉันได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักสะสมและดิฉันยัง ได้สัมผัสเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง ดิฉันเห็นลวดลายและดูโบราณและ แปลกในเครื่องถ้วยชามพวกนั้นแล้วรู้สึกสงสัยแต่ในเวลานั้นดิฉันไม่สามารถ สอบถามใครได้เลย ดิฉันเคยเขียนเกี่ยวกับการเดินทางตอนนั้นที่ Scene4 ดิฉันพูดคุยกับนักสะสมท่านหนึ่งที่เห็นความงามอันหาค่าไม่ได้ของเครื่อง ถ้วยชามโบราณและของอื่นๆ ที่ถูกกู้ขึ้นมาจากทะเล มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์วิทยาเขตปัตตานีมีอ่าวไทยตอนใต้เป็นพรมแดนธรรมชาติสีน้ำเงิน เจ้าหน้าที่คนหนึ่งจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีได้เชิญดิฉันให้ ไปเยี่ยมบ้านที่มีของโบราณที่น่าสนใจและที่นั่นดิฉันได้พบเห็นจาน โบราณลายกาหลง (อีกากำลังบิน) ดิฉันยังจำได้ค่อนข้างดีถึงตอนที่ได้ไป พบดะโต๊ะยุติธรรมผู้เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาของศาลจังหวัดนราธิวาส ดิฉัน เห็นดาบเล่มใหญ่จารึกด้วยสัญลักษณ์ "VK" ทุกคนบอกว่าดาบเล่มนี้เป็น ของโจรสลัดชาวไวกิ้งที่แล่นเรือมายังอ่าวไทย ดิฉันทราบมาว่าพิพิธภัณฑ์ ในประเทศซาอุดิอะราเบียได้ติดต่อเจ้าของเพื่อขอซื้อดาบเล่มนี้
30 ปีผ่านไปแล้วดิฉันยังคงพิศวงกับลวดลายเฉพาะตัวของลายอีกาใน เครื่องถ้วยชามเวียงกาหลง แต่เตาเวียงกาหลงมีบางสิ่งที่น่าหลงใหลและ ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้เห็นและศึกษาผลงานอย่างใกล้ชิด ตามที่ดิฉันได้ บอกไปแล้วว่าดิฉันรู้สึกประหลาดใจทึ่เห็นของสะสมเครื่องปั้นดินเผานี้
38 ซม
ลวดลายของเครื่องถ้วยชามเวียงกาหลงเป็นรูปนกบินไปตามเส้นวงกลม และสีคือส่วนผสมของสีเขียวเข้ม สีครามและสีน้ำตาล เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีที่เชิญดิฉันไปที่บ้านบอกว่าเครื่องถ้วย ชามที่เขาสะสมมาจากประเทศจีนและเขายังบอกอีกว่าเครื่องถ้วยชาม เหล่านี้มาจากเรือจากประเทศที่จมลงในอ่าวไทยเมื่อนานมาแล้ว เครื่องถ้วย ชามครบชุดมีสีเดียวกัน ที่น่าสนใจก็คือเพรียงที่ติดตามเครื่องถ้วยชามแล้ว ไม่ได้ชำระล้างออก ดิฉันอยากจะโต้แย้งว่าถ้วยชามเหล่านี้อาจจะมาจาก เตาโบราณทางภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งถูกส่งไปที่ประเทศจีน
เส้นทางไปสู่เวียงกาหลงอยู่ตรงบริเวณจังหวัดเชียงรายและจังหวัด เชียงใหม่มีระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขา สูงและชัน ไหล่ทางที่คดเคี้ยวคับแคบและแม่น้ำหลายสาย มีน้ำพุร้อนและ รีสอร์ตที่พักสำหรับนักเดินทางที่อยากจะเห็นทิวทัศน์อันงดงามและมี ประสบการณ์กับวัฒนธรรมฉันมิตร งานวิจัยเรื่องการสำรวจดินเหนียวโดย มหาวิทยาลัยหลายแห่งพิสูจน์ว่าดินภูเขาไฟในพื้นที่นี้ดีที่สุดสำหรับการทำ เครื่องปั้นดินเผา พื้นที่รอบเตาโบราณในอำเภอสันกำแพงก็มีน้ำพุร้อนหลาย แห่งเช่นกัน บางแห่งมีความสูงถึง 15 เมตรและมีอุณหภูมิสูงถึง 105 องศา เซลเซียส
ในประเทศไทยมีบทความและรายงานการสำรวจเกี่ยวกับเรื่องทาง โบราณคดีที่สำคัญที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารสยามโซไซตี้ในปีพ.ศ. 2480 เวียงกาหลงเป็นแหล่งความรู้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของประเทศสยาม "ประเทศไทย" ต่อมาหลักฐานนอกเหนือจากนี้เกี่ยวกับเตาเวียงกาหลงถูก พบในปีพ.ศ. 2529 คุณลักษณะของดินเหนียวดูเหมือนว่าเป็นดินขาวเกาลิน ซึ่งมีความแกร่งเพียงพอที่จะทำเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานการผลิตได้ กระจัดกระจายไปตามภูเขาและลำคลอง จากปี 2515 ถึงปี 2551 นอกจาก บริเวณริมฝั่งแม่น้ำลาวในบริเวณบ้านทุ่งม่าน ตำบลเวียงกาหลง ก็ยังมีการ ทำเครื่องปั้นดินเผาจากทางทิศตะวันออกของเวียงกาหลงไปจนถึงอำเภอ วังเหนือในจังหวัดลำปางซึ่งมีชื่อเสียงเช่นกันในเรื่องการทำเครื่องถ้วยชาม เซรามิกส์โบราณ
ประมาณ 500 ปีก่อน ช่างฝีมือชาวจีนได้สอนได้สอนให้คนไทยทำ เครื่องปั้นดินเผาเพราะดินจากพื้นที่นี้เป็นดินภูเขาไฟ คุณภาพดินเหนียว ยอดเยี่ยมเต็มไปด้วยแร่ธาตุและเหมาะสมสำหรับการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มี ลักษณะเฉพาะและสวยงามในคุณภาพที่เท่าเทียมกันกับเครื่องถ้วยชามของ ราชวงค์หมิงจากประเทศจีน เริ่มต้นด้วยรูปปั้นจากอำเภอวังเหนือในจังหวัด ลำปาง จานและถ้วยเป็นสีครีมอ่อนๆและสีเขียว แม้ว่าสีสันจะขาดตก บกพร่องไปบ้างและลวดลายนั้นดูเรียบง่าย แต่วัสดุสามารถนำไปขึ้นรูปอะไร ก็ได้และมีขนาดเหมือนรูปกาน้ำชา ถ้วย ชาม จาน แจกันและนกกระสาซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ของกาน้ำชา พื้นผิวของเครื่องกระเบื้องจะถูกขีดข่วนเป็น ลายรูปหงส์ นกต่างๆ และรูปครึ่งวงกลมโดยที่ไม่ใช้สีเขียนรูป และยังเน้น ไปถึงความอ่อนโยนและสวยงาม สี่งที่กล่าวมานี้ค่อนข้างจะแตกต่างจาก เครื่องถ้วยชามเวียงกาหลงซึ่งมีการออกแบบที่ชัดเจน เป็นเอกภาพมากกว่า ที่จะำตามการออกแบบจีนแบบดั้งเดิม
45x60 ซม
ในช่วงเวลานี้เตาเผาเวียงกาหลงถูกพบมากขึ้นแต่เครื่องถ้วยชามคุณภาพดี หายสาบสูญไป ดิฉันขอขอบคุณกลุ่มอาสาสมัครมีโครงการเชื่อมโยงอดีต กับปัจจุบัน นี่เป็นทรัพยากรของการจัดการวัฒนธรรมและจัดให้ผู้คนได้ เรียนรู้และปกป้องรักษา กลุ่มนักโบราณคดีอาสาสมัครโดยส่วนใหญ่เป็น นักศึกษาภาควิชาโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรและชาวบ้านแถบนั้นและ ได้พบเตาเผามากกว่า 1,000 แห่งในบริเวณนั้น คณะวิทยาศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างดินเหนียวไปวิเคราะห์ด้วยวิธี Thermo luminescence และผลที่ได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่าเตาเผาเวียง กาหลงได้ผลิตเครื่องถ้วยชามมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 -2551 ดังที่ได้กล่าว มาแล้ว
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดิฉันได้เรียนรู้จากสล่า (คำเรียกช่างฝีมือไทย ภาคเหนือ) ชื่อว่าทัน ทิจิตตัง ที่ได้อุทิศตนเองศึกษาต้นกำเนิดและรูปแบบ เครื่องถ้วยชามเวียงกาหลง เขาทำเช่นนี้เพราะเวียงกาหลงเป็นบ้านเกิดของ เขาและมีความชอบอย่างมากมายในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผา มีห้องทำงาน โรงงานผลิต และมีหนังสือและบทความเกี่ยวกับเครื่องปั้น ดินเผาเวียงกาหลง พร้อมทั้งหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเภทของดิน เหนียวที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงและการเดินทางของช่างฝีมือ ชาวจีนเพื่อหาแหล่างที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเครื่องถ้วยชามดินเผา
ดิฉันบอกเขาไปว่าเวียงกาหลงหมายถึงดินแดนที่อีกาหลงทางและชื่อนี้ทำ ให้รู้สึกหวาดกลัวบ้างเล็กน้อย ตั้งแต่ที่ดิฉันเห็นจานขนาด 38 เซนติเมตรที่ ถูกกอบกู้ขึ้นมาจากอ่าวไทย และในครั้งที่สองดิฉันพบอีกหนึ่งชิ้นที่ พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุโรป ลวดลายของ ฝูงอีกาบินในวงกลมนั้นเหมือนกันมาก สล่าทันบอกกับดิฉันว่าความหมาย อื่นของเวียงกาหลงมาจากชื่อดอกไม้ที่ผู้คนเรียกว่า "ดอกกาหลง" เป็น ดอกไม้สีขาวดอกใหญ่มีใบเป็นรูปหัวใจ สามารถพบเห็นได้ง่ายในหมู่บ้าน แห่งนี้
สล่าทันยังเพิ่มเติมว่าเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงได้แสดงหลักฐานสำหรับ การศึกษาความเชื่อทางศาสนา จะเห็นได้ว่าลวดลายของสัตว์มงคลมีทั้ง ปลาตะเพียน นกกระสา นก ไก่ฟ้า และเต่า พืชมงคงเช่นดอกกาหลง และ ตำนานมงคลเกี่ยวกับอุดมคติทางศาสนาพุทธ
รัฐบาลไทยไม่มีนโยบายที่จะซื้อของมีค่าสำหรับพิพิธภัณฑ์ เป็นเพราะผู้ ลักลอบขายของให้กับนักสะสมและผู้ที่มีความรู้ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่อง ถ้วยชามโบราณถูกขุดไปมากกว่า 100 ปีที่แล้วและนี่เป็นการกระทำจาก บุคคลภายนอก
ดิฉันเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับวัดอุโมงค์ในวังหวัดเชียงใหม่ คณะวิจิตรศิลป์ และคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างภาพจำลองโดยการใช้ คอมพิวเตอร์กราฟฟิคเพื่อศึกษาภาพเขียนฝาผนังสำหรับทำการฟื้นฟู เมื่อ ดิฉันยืนอยู่ใต้อุโมงค์ ดิฉันเห็นภาพเขียนฝาผนังได้ทั้งหมด เป็นภาพมุม กว้างที่สวยงามมากและดิฉันรู้สึกตื่นเต้นแม้ว่าดิฉันอาศัยอยู่ที่จังหวัด เชียงใหม่มาหลายปีแล้ว เมื่อชั้นหินปูนปกคลุมพื้นผิวภาพฝาผนัง ภาพเขียน ฝาผนังนั้นดูคล้ายคลึงกับเครื่องถ้วยชามราชวงค์หมิงของประเทศจีน สีที่ แท้จริงคือสีแดงสดและสีเขียวมรกตนั้นยอดเยี่ยมมาก สีเขียวนั้นค่อนข้าง เข้มและชัดเจนกว่าสีแดงและน้ำเงินที่พบในรูปดอกโบตั๋นที่เครื่องถ้วยชาม ราชวงค์หยวนหรือหมิง มองดูที่รูปภาพจากฟิลม์อินฟราเรดที่ได้มาจาก สมาชิกของโครงการก็จะเห็นภาพฝูงนกกระสาและดอกโบตั๋นได้อย่าง ชัดเจน
ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักสะสมก็อยากจะแสดงรูปปั้นช้างซึ่งมาจากทัพสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งมีหลายรูปแบบทำโดยช่างฝีมือชาวบ้าน ผู้คนพบแค่
ตุ๊กตาคนตัวเล็กและสัตว์ ชุดสะสมของกระเบื้องเซรามิกส์โบราณอาจเป็น ประโยชน์ต่อทั้งช่างฝีมือและนักโบราณคดี คุณสามารถตัดสินใจได้เองว่า รูปปั้นเหล่านี้เป็นของจริงหรือปลอม |