เรื่องราวของสลัดและโครงการหลวง มีสิ่งที่น่าสนใจมากที่สลัดผักเป็นหนึ่งในอาหารตะวันตกที่เป็นที่รู้จักมาก ที่สุดที่คนไทยให้การต้อนรับและรู้สึกดีที่ได้รับประทานเนื่องจากข้อเท็จจริง ที่ว่ามีผักและผลไม้จากโครงการหลวงที่ได้พยายามพัฒนาการเพาะปลูก พืชผักและผลไม้จากต่างประเทศจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ผลลัพธ์ก็คือว่าความเคยชินในการกินของคนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่นั้น เปลี่ยนแปลงไป
ก่อนหน้านี้สลัดถูกจัดว่าเป็นอาหารว่างก่อนอาหารหลักเช่นปลาหรือน้ำซุป แต่ในตอนนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ของร้านเป็นวัยรุ่นที่อยากมีรูปร่างและสุขภาพที่ ดีโดยการรับประทานผักและผลไม้มากกว่าเดิม นอกเหนือจากนี้ร้านอาหาร ตะวันตกและร้านอาหารญี่ปุ่นยังจัดให้มีสลัดบุปเฟต์ให้กับลูกค้าอีกด้วย แน่นอนว่าสลัดเป็นหนึ่งในอาหารที่เตรียมได้ง่ายที่สุดและสามารถ รับประทานกับอาหารจานไหนๆก็ได้ ผู้คนมักจะทำทานกันเองที่บ้านเพราะ ผักและผลไม้หลายชนิดมีราคาไม่แพงและก็สามารถเติมเนื้อ ไข่และน้ำสลัด หรือมายองเนสเพื่อกระตุ้นให้เด็กทานผักและผลไม้มากกว่าเดิม อย่างไรก็ ตาม จำนวนของร้านอาหารที่ขายสลัดเป็นอาหารหลักกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (แต่ก็ยังคงไม่สามารถเปรียบเทียบกับแผงลอยก๋วยเตี๋ยวหรือร้านอาหารอื่น ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วเมือง) นี่เป็นสัญญาณว่าคนไทยกำลังเริ่มที่จะใส่ใจ สุขภาพของตัวเองโดยการเลือกอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำและเชื่อกันว่า สลัดเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สำหรับชีวิตที่มีสุขภาพดี
|
ปีนี้พ.ศ. 2553 เป็นเป็นการฉลองครบรอบ 41 ปีของโครงการหลวง สลัด กลายเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมสำหรับคนไทยทั่วทั้งประเทศและได้รับ การโปรโมทอย่างมากมาย แนวโน้มของการบริโภคสลัดในกรุงเทพนั้น แข็งแกร่งกว่าจังหวัดอื่นๆ ผักและผลไม้มีราคาไม่แพงและเป็นผลิตภัณฑ์ ของโครงการหลวง บางอย่างอาจพบเจอได้ในบางฤดูกาลแต่หลายอย่างก็ สามารถซื้อหาได้ในทุกฤดูเช่นผักสลัดร็อกเกตที่มีกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ด เล็กน้อย นอกเหนือจากนี้ยังมีถั่วแดง ข้าวบาร์เลย์ ถั่วขาว วอเตอร์เครส เห็ด เข็มทองก็เพิ่มรสชาติให้กับสลัดเป็นอย่างมาก สลัดเลยกลายเป็นอาหารที่ จำเป็นกับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ร้านเสริมสวยและสปาบริการอาหารสลัด ให้กับลูกค้า
ในเดือนสิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา โครงการหลวงและบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา ได้จัดงาน "โครงการหลวง 41" เป็นการแสดงผลงานครบรอบ41ปี ของ โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีที่มาจากแนว คิดที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน งาน ได้แสดงสินค้ามากมายหลายชนิดจากร้านต่างๆของโครงการหลวง และอีกกว่า 3,000 รายการจากโครงการหลวงในหลายแห่งที่มีอยู่ในราคา พิเศษสุด
ไฮไลท์พิเศษประจำงานคือผลผลิตทางการเกษตรแบบแปลกเช่นมะเขือ เทศห้าสีเป็นลูกกลมสีแดง สีเหลือง สีชมพู สีส้ม และสีช็อกโกแลต ฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยวอมหวานเหมาะสำหรับรับประทานสด ฟักทองขนาดเล็กที่มีสาร เบต้าแคโรทีนสูงที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง พริกหวานยักษ์ที่เต็มไปด้วย วิตามิน A B1 B2 และ C มากกว่าพริกหวานธรรมดา ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ น่าสนใจคือของสดจากฟาร์มโครงการหลวงทั่วประเทศ เห็ดหลากชนิด ปลาสเตอร์เจี้ยน เนื้อกระต่ายรมควัน ปลาเทร้าสด โยเกิร์ตนมจากกระบือ รสชาเขียว ซีเรียล รสกาแฟอะราบิก้าภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ดอยคำ ซึ่งเป็น ตราผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของโครงการหลวง
การดำเนินการของโครงการหลวงเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2507 ในความพยายามที่ จะลดการตัดไม้ทำลายป่าและการปลูกฝิ่นในภาคเหนือของประเทศไทย การตัดไม้ทำลายป่านั้นเป็นการทำลายต้นน้ำและการปลูกฝิ่นนั้นผิด กฎหมาย เป็นการกระตุ้นทำให้ชาวเขาหยุดปลูกฝิ่น โครงการนั้นได้ สนับสนุนและแนะนำให้พวกเขาปลูกพืชผักและผลไม้ต่างประเทศแทน เป็น เวลากว่า 50 ปีแล้วที่ได้มีการปลูกพืชผักผลไม้ต่างประเทศในประเทศไทย สลัดได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายชื่นชอบเป็นอย่างมาก
วัฒนธรรมการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโพนิกส์) นั้นค่อนข้างใหม่ใน ประเทศไทยแม้ว่าวิธีนี้จะเริ่มใช้ในประเทศไทยเมื่อ 20 ปีก่อนแล้วก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นจะใช้สำหรับการทดลองเท่านั้น การทำไฮโดรโพนิกส์ในเชิงการค้านั้นได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ มากกว่า 10 ปีแล้ว ในปัจจุบันนั้นชาวสวนนั้นนิยมการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เนื่องจากความก้าวหน้าให้ได้ผลผลิตที่สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชผักแม้จะ อยู่ในพื้นที่ดินไม่ดีและแหล่งน้ำที่ไม่อุดมสมบูรณ์
ฟาร์มไฮโดรโพนิกส์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะใช้เทคนิคเช่น Nutrient Film Technique (NFT) Deep Flow Technique (DFT) และ Dynamic Root Floating Technique (DRFT) สำหรับผู้ปลูกผักในเชิงพาณิชย์ใน ประเทศไทย การเก็บเกี่ยวได้รวดเร็วและการได้ผลตอบแทนที่สูงด้วยระบบ เหล่านี้ทำให้การเพาะปลูกผักใบเขียวสามารถทำได้ถึง 16ครั้งใน 1 ปี วิธีการ NFT นั้นเป็นที่นิยมในการปลูกผักสลัดซึ่งโดยส่วนใหญ่จะจำหน่าย ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเช่นกรุงเทพ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ภูเก็ต และสุราษฏร์ธานี
ผู้คนทำสลัดรับประทานโดยใช้ผักและผลไม้หลายชนิดและมีอีกหลายวิธีใน การจัดเตรียม บางคนชอบทานผักสดในขณะที่คนอื่นๆอาจชอบทานผักต้ม อันที่จริงมันขึ้นอยู่กับชนิดของผักและวิธีการปรุงที่เหมาะสม เนื้อสัตว์หลาย ชนิดสามารถจูงใจให้ผู้ใหญ่และเด็กทานผักมากกว่าเดิม หน้าสลัดเช่นขนม ปังกรอบ ลูกเกด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวันใช้ตกแต่งจานสลัด น้ำสลัดก็จำเป็นสำหรับคนที่ไม่ชอบทานผักและก็สามารถเลือกได้หลาย ชนิดเช่นน้าสลัดทาวซันไอร์แลนด์ มายองเนส ซีซาร์สลัด น้ำส้มสายชู น้ำมันมะกอก น้ำสลัดงาเซซามิ และซีอิ้วญี่ปุ่น
ในจังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันและครอบครัวมักไปทานร้านสลัดที่มีชื่อว่า "สลัดคุณนาย" ที่ตั้งอยู่ทางด้านหลังคณะวิจิตรศิลป์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จำหน่ายราคาไม่แพงจนเกินไปและคุณภาพ อาหารอยู่ในระดับดีมาก ลูกค้าของร้านส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา คุณมลและ คุณแจ๊สเป็นสองสามีภรรยาที่เป็นเจ้าของร้านอาหารและทั้งคู่ก็จบจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เช่นเดียวกัน ตอนแรกทั้งสองคนเปิดร้านสเต็กใน จังหวัดขอนแก่นแต่ต่อมาก็ตัดสินใจมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเปิดร้าน
สลัดที่ตั้งใจไว้และบอกดิฉันว่าได้เห็นความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจที่นี่ และเปิดร้านสลัดบาร์ มาร่วม หกปีแล้ว และ เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้ย้ายไปยัง สถานที่ใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม มีถึง90 โต๊ะและที่จอดรถสะดวกสบายธุรกิจของ ทั้งคู่กำลังเติบโตขึ้นและที่สำคัญก็คือความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ขายอาหารที่ คัดสรรความอร่อยเป็นที่ตรงกับรสนิยมคนรุ่นใหม่ และดีต่อสุขภาพ
|