Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

บัณฑิตอึ้งรังษี

จากเดอะ บีทเทิ้ล
 ไปสู่ดนตรีซิมโฟนี่

จานีน ยโสวันต์

Scene4 Magazine-inSight

november 2006

Scene4 Magazine - Bundit Ungrangsee
คลิกเพื่ออ่านบทความนี้ เป็นภาษาไทย

เป็นเวลานานหลายปีแล้วที่ดิฉันได้ติดตามผลงานเพลงของบัณฑิตอึ้งรังษี ชาว
ไทยเชื้อสายจีน เขาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันควบคุมวง
ดนตรีนานาชาติอันทรงเกียรติหลายรายการ

เมื่อตอนที่บัณฑิตมีอายุ 14 ปี เขามีความชอบในบทเพลงของวงเดอะ บีทเทิ้ล มาก
จนได้สมัครเรียนกีตาร์ที่โรงเรียนดนตรีสยาม ยามาฮ่าในประเทศไทย เขายังได้เห็น
การแสดงของวาทยกรชาวอินเดียที่ชื่อ สุบิน เมธา (Zubin Mehta) เขายังทราบอีก
ว่าคุณ เมธา ลาออกจากโรงเรียนแพทย์เพื่อเป็นวาทยกรและนักดนตรีและคุณ
เมธา ก็เป็นแรง บันดาลใจให้กับบัณฑิตอีกด้วย

ในปีพ.ศ. 2541 บัณฑิตได้รับทุนการฝึกกำกับวงดนตรีของลีโอนาร์ด เบินสไตน์
และได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในสามผู้เข้ารับการฝึกกำกับวงดนตรีที่ศูนย์ดนตรี
แทงเจิ้ลวูด โดยมีพี่เลี้ยงคือ ยอร์มา พานูล่า และ เซจิ  โอซาว่า ก่อนหน้านั้นในปี
เดียวกัน เขาเป็นวาทยกรวัยหนุ่ม หนึ่งในเก้าคนจากทั่วโลกที่จะเข้าร่วมหลักสูตร
ระดับผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน Sibelius ที่ หอประชุมคาร์เนกี้ นำโดย Esa-Pekka
Salonenผู้กำกับดนตรีของ ฟิลฮาร์โมนิค ของ ลอส แองเจลลิส

ในเดือนกันยายน 2545 บัณฑิต อึ้งรังษี นั้นเป็นผู้ชนะร่วมในการแข่งขันวาทยากร
นานาชาติMaazel-Vilar ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่หอประชุมคาร์เนกี้เมืองนิวยอร์ก
รางวัลที่ได้รับมอบมาจากคณะกรรมการรวมทั้งLorin Maazel, Kyung-Wha
Chung, Glenn Dicterow และ Krzysztof Penderecki ทุกคนจับตามองเขาเป็น
อันดับแรกจากผู้เข้าร่วมแข่งขัน 362 คนจาก 40 ประเทศ ในตอนท้ายสุดของการ
แข่งขันMaazel กล่าวกับผู้ชมว่า"พวกคุณจะได้เห็นอนาคตของดนตรีคลาสสิค"

Scene4 Magazine - Bundit Ungrangsee and Lorin Maazel

ในเดือนพฤษภาคม 2547 อราเบส เรคคอร์ด ได้วางจำหน่ายอัลบั้มMozart
flute concertos ที่กำกับบทเพลงโดย บัณฑิต อึ้งรังษี มีนักร้องนำที่มีชื่อเสียงคือ
พอลล่า โรบินสัน และวงดนตรี Charleston Symphony Orchestra อัลบั้มที่มีชื่อ
Mozart in Loveถูกผลิตโดย Adam Abeshouse ผู้จัดสร้างที่ได้รางวัลแกรมมี่
อวอร์ด เมื่อไม่นานมานี้ตอนต้นปี 2548 บัณฑิตได้รับเชิญให้เป็นทูตทางด้านดนตรี
ขององค์กรME ที่นำบทเพลงไปสู่เด็กในตะวันออกกลาง ในช่วงฤดูร้อนปี 2548
รัฐบาลไทยได้มอบรางวัลศิลปินแห่งชาติให้แก่บัณฑิต อึ้งรังษีเพื่อเป็นเกียรติแก่
ความสำเร็จระดับโลกของเขา

Scene4 Magazine - Bundit Ungrangsee with Cukurova Symphony (Turkey)

ในเดือนพฤศจิกายน 2548 บัณฑิตได้รับเชิญให้เข้าร่วมช่วยพัฒนาSeoul
Philharmonic Orchestra ให้กลายเป็นสถาบันทางดนตรีระดับโลก เขาได้รับ
ตำแหน่งวาทยกรรับเชิญคนสำคัญของวงออเครสตร้า

เขามีตำแหน่งทางดนตรีหลายอย่าง เช่น Cover Conductor ของ New York
Philharmonic, Principal Guest Conductor ของCharlestonSymphony
Associate Conductor ของ the Utah Symphony; Music Director และ
Conductorของ the Young Musicians Foundation (YMF) งานเปิดตัว
ออเครสตร้าใน ลอส แองเจลลิส; Apprentice Conductor ของ the Oregon
Symphonyภายใต้การควบคุมของJames DePreist; และ Assistant Conductor
ของ the SantaRosa Symphony

บัณฑิตอึ้งรังษียังเป็นวาทยกรนานาชาติที่เป็นที่ต้องการมีพื้นที่ทำงานอยู่5 ทวีป
คืออเมริกาเหนือ-ใต้ ยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย เขายังปรากฏอยู่หน้าวงออเครสตร้า
ชั้นนำเช่น Orchestra of St. Luke's ในNew York, UtahSymphony, Los
Angeles Philharmonic Orchestra และเมื่อไม่นานมานี้กับวง the prestigious La
Fenice Theatre ใน Venice.งานในอนาคตก็มีคอนเสิร์ต กับ Pomeriggi Musicali
ใน Milan, Orchestra Sinfonica Siciliana ใน Palermo(อิตาลี), Auckland
Symphony Orchestra (นิวซีแลนด์), OrchestraInternazionale d'Italia
(รวมทั้ง Asian tour), Malaysian Philharmonic,Victoria Symphony
(แคนาดา), Cukurova Symphony (ตุรกี), Busan Philharmonic (เกาหลีใต้),
Nagoya Philharmonic (ญี่ปุ่น)และ Copenhagen Philharmonic (เดนมาร์ก)

เขายังเคยร่วมงานกับศิลปินระดับโลกหลายท่าน เช่น Maxim Vengerov, Mikhail
Pletnev, Julia Migenes, Joseph Allessi, the LaBeque Sisters, Paula
Robinson, Christopher Parkening, Christine Brewer และ Elmer Bernstein

หนังสือพิมพ์The Los Angeles Times ได้วิพากษ์วิจารณ์ บัณฑิต อึ้งรังษี ว่า
"ควบคุมวงด้วยความสงบและสุขุม แสดงความเชื่อมั่นได้อย่างน่าประทับใจบนเวที
การอ่านโน้ตของเขานั้นไม่รีบร้อนและชัดเจน ผสมผสานกันได้อย่างน่าเชื่อถือ
และมีรายละเอียด รวมทั้ง pianissimo dynamics" หนังสือพิมพ์ The Charleston
Postและ Courier ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า "แสดงสัมผัสที่แน่นอน การแสดงที่ยอด
เยี่ยม เป็นแบบการขับเคลื่อนทางจังหวะ การควบคุมแบบไดนามิค และความถูก
ต้องแม่นยำ เป็นการแสดงน่าตื่นเต้น ทำให้ผู้ชมลืมหายใจ การอ่านโน้ตจากเริ่มจน
จบเต็มไปด้วยสัมผัสที่เชี่ยวชาญซึ่งสร้างความสนใจในรายละเอียดและให้จังหวะ" 

Post Your Comments
About This Article

©2006 Janine Yasovant
©2006 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine — Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the
Archives

 

 

What's This?

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media

november 2006

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Plays | Blogs | Links Advertising | Special Issues | Subscribe | Privacy | About | Terms | Contact | Archives
Search This Issue Email This Page

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media - 6920 Roosevelt Way NE, Seattle, WA 98115. Copyright © 2000-2006 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. No part of this issue may be reproduced or transmitted in any form or by any means, electronic or mechanical, including photocopying and recording for public or private use, or by any information storage or retrieval system, without the prior written permission of the publisher.