อินไซท์

March 2011

Scene4 Magazine: The Arts of Thailand - "Somdej Ya" | Janine Yasovant March 2011  www.scene4.com

จานีน ยโสวันต์

ไม่ได้เป็นการง่ายเลยที่สุภาพสตรีไทยสามัญชนผู้หนึ่งได้สมรสกับเจ้าชาย
ชาวไทยที่ไปศึกษาแพทย์ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซท ตอนนั้นสตรีผู้
นั้นมีชื่อว่าสังวาลย์ ชูกระมล เป็นนักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนวิชาพยาบาลที่
บอสตัน บุรุษผู้หนึ่งที่มีความรักให้กับนางสาวสังวาลย์ พระองค์ท่านผู้ซึ่ง
เป็นนักศึกษาปีแรกของมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาวาร์ด ผู้เป็นพระโอรสของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ต่อมาชาวไทยได้
ขนานพระนามพระองค์ท่านเป็นพระบิดาแห่งการแพทย์ไทย ในช่วงที่ศึกษา
อยู่ครั้งหนึ่ง พระองค์ท่าน เคยเขียนจดหมายไปหาเพื่อนแล้วบอกเพื่อนเป็น
ร้อยกรองว่า "แม่สังวาลย์ งามจริงแท้ แกเอ๋ย" พระนามของท่านยังเป็นชื่อ
ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ที่ดิฉันเคยเรียน จบการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

002-cr

เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ดิฉันติดตามข่าวสารและกิจกรรมของสมเด็จ
พระชนนีหรือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชวงศ์ ชาวไทย
เรียกพระองค์ว่าสมเด็จย่า พระองค์เป็นสตรีที่ทำงานหนักเพื่อประเทศชาติ
และเป็นแบบอย่างให้กับพระราชธิดาองค์โตคือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาและพระราชโอรสทั้งสองพระองค์คือพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) และพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช(รัชกาลที่ 9)

Princess_Sri_Sangwal-cr

ดิฉันเคยมีโอกาสเข้าเรียนภาษาฝรั่งเศสที่สมาคมฝรั่งเศสจังหวัดเชียงใหม่ที่
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์
ตลอดเวลานั้นพระองค์ทรงพระดำเนินกับพระมารดาและทรงเยี่ยมราษฎรใน
ถิ่นทุรกันดารทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ผู้คนต่างถามถึงสมเด็จย่าว่า
ทำไมพระองค์ทรงงานหนักแม้ว่าพระองค์ทรงมีพระชนมายุมากแล้ว ใน
หลายๆโอกาสพระองค์ทรงพระดำเนินเยี่ยมชาวไทยภูเขาและทรงแนะนำให้
พวกเขาเลิกปลูกฝิ่นและกัญชาแล้วหันมาปลูกดอกไม้ พืชผัก ผลไม้แทน
ดอยคำซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลวงจะมารับซื้อผลิตภัณฑ์การเกษตรจาก
ชาวบ้านและชาวไทยภูเขา การเปลี่ยนวิถีชีวิตชาวบ้านในเวลานั้นไม่
ง่ายดายนัก ในที่สุดโครงการก็ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีและมาตรฐานการ
ดำรงชีพของผู้คนที่นั่นก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

เมื่อดิฉันได้เข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สมเด็จพระเจ้าพี่
นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาทรงสอนภาษาฝรั่งเศสที่คณะมนุษย์ศาสตร์
และดิฉันเป็นลูกศิษย์ในชั้นเรียนของพระองค์ นักศึกษาถามพระองค์
เกี่ยวกับเรื่องสมเด็จย่า พระองค์ทรงยิ้มและทรงบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ
กิจกรรมสำคัญที่พระองค์และมารดาของพระองค์ได้ทรงทำเช่นเดียวกับ
ความยากลำบากในการเดินทางและทำงานในชนบทพร้อมกับกลุ่มแพทย์
พยาบาล ทันตแพทย์ จักษุแพทย์ และศัลยแพทย์เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่นั่น
พระองค์ตรัสเสริมว่าสมเด็จย่าเป็นผู้หญิงตัวเล็กที่แข็งแรงและมีสุขภาพดี
ดิฉันได้อ่านหนังสือพระนิพนธ์เรื่องเวลาเป็นของมีค่า ของสมเด็จพระพี่นาง
เธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา หนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงเรื่องราวของสมเด็จย่า
ตอนมีพระชนมายุ 84 พรรษาในปีพ.ศ. 2527 รวมทั้งเรื่องของงานอดิเรก
ต่างๆ หนังสือสมุดภาพเล่มนี้มีภาพงานหัตถกรรมฝีพระหัตถ์ของสมเด็จย่าที่
เคยวางจำหน่ายในงานการกุศล ผลงานบางชิ้นเป็นดอกไม้แห้ง งานเครื่อง
ปั้นดินเผา งานเย็บปักถักร้อย สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่าสมเด็จพระชนนีทรง
ชอบประดิษฐ์งานศิลปะในยามว่างและทรงเปิดเผยว่าไม่ได้เรียนศิลปะมา
โดยตรงแต่ทรงทำเพราะความรักในงานศิลปะ

บ่อยครั้งที่พระองค์เสด็จไปที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอร์แลนด์เพื่อพักผ่อน
เป็นระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาทางกองทัพและหน่วยงานต่างๆได้สร้างพระ
ตำหนักดอยตุงขึ้นในจังหวัดเชียงราย ข่าวนี้ทำให้ประชาชนรู้สึกปลาบ
ปลื้มปิติเมื่อทราบว่าพระองค์จะทรงกลับมาพักผ่อนในประเทศไทยและทรง
จะพำนักที่พระตำหนักดอยตุง

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 ขบวนแห่ตุงเคลื่อนขบวนไปยังแม่ฟ้าหลวง
ชาวไทยในเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงจัดเตรียมขบวนแห่ตุงเพื่อต้อนรับ
และเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิด ในเวลานั้นพระองค์มีพระชนมายุ 95 พรรษา
ขบวนแห่ตุงเดินขึ้นพระธาตุดอยตุง โดยปกติแล้วพิธีการนี้สำคัญกับชาว
เชียงรายและมีการจัดทุกปีแต่ปีนี้เป็นปีที่พิเศษสุดเพื่อถวายแก่สมเด็จย่า
ผู้เป็นที่รักของประชาชน

007-cr
005-cr

ตุงเป็นธงพื้นเมืองที่ทำด้วยมือใช้ในงานพิธีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธ
ศาสนาและการเฉลิมฉลองของชาวล้านนา ตุงได้รวมเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิต
ของชาวเหนือมาระยะเวลาหนึ่ง รายละเอียด ชนิด และวิธีการใช้ตุงนั้น
ค่อนข้างต่างกัน แต่ละอันก็มีลวดลายและสีสันที่ต่างกันไป นอกเหนือจากนี้
ผู้คนมากมายโดยเฉพาะผู้หญิงจะสวมชุดพื้นเมืองไทยล้านนาและชุดชาว
ไทยภูเขา ตุงถูกทำขึ้นมาเพราะความเชื่อและความรักที่มีต่อพระราชชนนี
แม่ฟ้าหลวงหมายความตามตัวอักษรว่าเป็นมารดาของพระเจ้าแผ่นดิน ใน
ตอนเย็นมีพิธีการและการแสดงกลางแจ้งในปีนั้นเป็นพิธีการที่ใหญ่ที่สุด
เท่าที่เคยจัด

เมื่อไม่นานมานี้ที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ดิฉันได้เห็นผลงานชิ้นล่าสุด
ของอาจารย์ เกรียงไกร เมืองมูล อาจารย์สอนศิลปะของสถาบันเทคโนโลยี
ราชมงคลและศิลปินที่ได้รับรางวัลจากการประกวดมากมาย เขาวาดรูปของ
ขบวนแห่ตุงที่มีภาพวาดของสมเด็จย่า หนึ่งในสามของภาพเขียนทั้งหมดจะ
ถูกนำไปไว้ที่พระตำหนักดอยตุง ภาพบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับขบวนแห่ตุง
เพื่อแม่ฟ้าหลวงในปีพ.ศ. 2535 สุดท้ายนี้ดิฉันอยากจะแสดงภาพเขียนให้ดู
เพราะว่ารูปดูสวยงามและมีรายละเอียดมากมาย

ท่านสามารถดูรูปรายละเอียดที่ซับซ้อนและสวยงามจากคลิปวิดีโอ
ด้านล่างนี้

ภาพถ่ายขบวนแห่ตุงในจังหวัดเชียงรายจากหนังสือกินรีเดือนตุลาคม
พ.ศ. 2535

ภาพเขียนโดย อ.เกรียงไกร เมืองมู

  • Get the Flash Player to see this player.

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2011 Janine Yasovant
©2011 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine - Arts and Media

March 2011

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Books | New Tech | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Share This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2011 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 11h year of publication with
comprehensive archives of over 6000 pages 

sciam-subs-221tf71
taos