ถึงแม้ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะแปลกถิ่นและลึกลับ แต่ประวัติศาสตร์ มีความเหมือนกับประวัติศาสตร์ของยุโรป อาณาจักรต่างๆรุ่งเรืองและ ล่มสลาย ราชวงศ์ต่างๆ เบ่งบานและโรยรา กลอุบายทางการเมืองที่ ถูกปลุกเร้าด้วยความโลภและความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
ถ้าภาพยนตร์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยที่มีทั้งความรู้และความบันเทิง บอกเราเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของไทยจากอดีตถึงปัจจุบันก็จะพบว่า พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรปวงชน ภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวร" ได้รับการสร้างและกำกับ โดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือที่รู้จักกันว่าท่านมุ้ยภาพยนตร์เรื่อง นี้มีลักษณะตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นเรื่องราวที่มีคุณค่าการสร้าง อย่างประณีต ภาพยนตร์ที่เปิดเผยความเป็นมนุษย์และหัวใจของ พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตแทบทุกพระองค์ทรงเป็นผู้นำกองทัพ ขนาดใหญ่และทรงต่อสู้เพื่อประเทศอันเป็นที่ รัก ไม่ว่าเพื่อเมือง อาณานิคมแห่งใหม่หรือปกป้องเขตแดน บางพระองค์ถูกปลง พระชนม์กลางสนามรบ ที่น่าประหลาดใจก็คือสตรีมีบทบาทและต่อสู้ ได้เช่นเดียวกับ บุรุษไม่ว่าจะมียศระดับใด พระราชาของประเทศที่พ่าย แพ้ก็จะต้องส่งเจ้าชายและเจ้า หญิงไปเป็นตัวประกันพร้อมทั้งเครื่อง บรรณาการต่างๆ เช่นกองทหาร เสบียง อาวุธ ม้า และช้างให้กับผู้ชนะ
เป็นเวลาเกือบ 500 ปีผ่านมาแล้วอาณาจักรอโยธยาและมีหัวเมือง พิษณุโลกเป็นป้อมปราการคุ้มกัน
ในปีพ.ศ2102พม่าได้ยกทัพมารุกรานเมืองพิษณุโลกพระมหาธรรม ราชา พระราชาที่ปกครองเมืองพิษณุโลกได้ยอมจำนนให้กับกองทัพ อันมากมายมหาศาลของพม่า เพราะอาณาจักอโยธยาไม่ได้ส่งกำลัง มาช่วยเหลือในสงครามพระนเรศวร เจ้าชายจากเมืองพิษณุโลกและ บุตรชายของพระมหาธรรมราชาถูกจับเป็นองค์ประกันเมื่อพระองค์มี พระชันษาเพียงเก้าปีและได้เป็นบุตรบุญธรรมของพระราชาบายินนอง (บุเรงนอง) กษัตริย์ของพม่า
หลายปีต่อมา พี่สาวของพระนเรศวรที่มีพระนามว่า พระสุพรรณกัลยา ถูกส่งตัวมาที่พม่าเช่นกันในฐานะเป็นนางสนมของพระราชาบายินนอง พระนเรศวรได้รับการศึกษาโดยพระสงฆ์ศาสนาพุทธที่มีนามว่า "พระมหาเถรคันฉ่อง" ซึ่งเป็นอดีตพระอาจารย์ของพระราชาบายินอง ท่านได้สอนพระนเรศวรในเรื่องศิลปะการต่อสู้วรรณกรรมการเมือง การปกครอง และพิชัยสงคราม
เป็นเรื่องธรรมดาในตอนนั้นที่อาณาจักรที่ปราชัยจะส่งจะส่งเจ้าหญิง ให้ไป เข้าพิธีสมรสกับพระราชาฝ่ายผู้ชนะ นี่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ เป็นที่ยอมรับแต่ก่อนหน้าการมาถึงพม่าของพระสุพรรณกัลยาเจ้า หญิงแห่งอาณาจักรอโยธยาและบุตรสาวคนที่สองของพระราชินี สุริโยทัยที่มีพระนามว่า "พระเทพกษัตรี"ผู้ที่ไม่เต็มใจสมรสกับ พระราชาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในการแลกเปลี่ยนกำลังเสริมในการ ต่อต้านพม่าพระมหาธรรมราชาได้พบแผนการณ์ของอาณาจักร อโยธยาและได้บอกให้พระราชาบายินนองส่ง ทหารไปลักพาพระเทพ กษัตรีหลังจากที่พระเทพกษัตรีได้พบกับพระราชาบายินนองแล้ว พระเทพกษัตรีทรงปฏิเสธข้อเสนอของพระราชาบายินนองจากนั้น และได้ทำการอัตวินิบาตกรรม
เป็นเวลาถึง15 ปีที่ที่ประชนชนในตอนนั้นเรียกตัวเองว่าเป็นชาวสยาม รวมทั้งพระนเรศวรได้สูญเสียอิสรภาพและถูกควบคุมโดยชาวพม่า ใน ปีพ.ศ.2127สามปีหลังจากที่พระราชาบายินนองเสด็จสวรรคต ความสัมพันธ์ระหว่าง ระหว่างสยามและพม่าพังทลายลงจึงหลีกเลี่ยง ไม่ได้ที่จะตามด้วยการ จู่โจมอย่างหนักหน่วงจากทัพพม่าพระนเรศวร ทรงออกมาตอบโต้ และใน ปี พ.ศ. 2129พระองค์ได้ครองเมือง ล้านนาซึ่งเป็นเมืองกันชนระหว่างสองอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2133 สมเด็จพระมหาธรรมชาเสด็จสวรรคต และพระนเรศวรกลาย เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการของอาณาจักรอโยธยา ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวรปีต่อมา พ.ศ. 2134 ทัพพม่าโจมตีอีกครั้งเพื่อกอบ กู้เมืองที่เสียไป พระมหาอุปราชาถูกปลงพระชนม์โดยพระนเรศวรใน การกระทำยุทธหัตถีบนหลังช้าง
ปีถัดมาสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี(เมืองของพม่าใน ขณะนั้น) และกัมพูชาในปี พ.ศ. 2136 ชาวไทยขนานนามพระองค์ว่า มหาราช เนื่องจาก พระองค์ขยับขยายและรวบรวมอโยธยา ล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา และบางส่วน ของพม่าพระองค์ได้ตรากฎระเบียบ อย่างเข้มงวดกับเหล่าทหารและประชาชน ในช่วงเวลาที่ครองราชย์ อโยธยาเป็นเมืองที่ปลอดภัยและทรงอำนาจ การดัดแปลง ประวัติศาสตร์ไทยให้เป็นภาพยนตร์สำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ ที่ต้องการทราบประวัติศาสตร์ไทยไม่ใช่งานที่ง่ายดายนักท่านมุ้ยได้ ใช้เวลามาก มายในการค้นคว้าเพื่อที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริงและ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และเพื่อการจับต้องการมองเห็นและ ความรู้สึกในเวลานั้น ใช้เวลาทำกว่า 7ปีและค่าใช้จ่ายกว่า700 ล้าน บาท(20ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อที่จะถ่ายทำภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ เรื่องนี้ท่านมุ้ยรู้สึกภาคภูมิใจว่าเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์อิง ประวัติศาสตร์ไม่ใช่สารคดี
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานสำหรับผู้รับชม ความจริงและจินตนาการถูกผสมผสานเข้ากันอย่างดี สยามและพม่า ในเวลานั้นแทบไม่ต่างกันในเรื่องความเชื่อทางศาสนาเพราะทั้งสอง อาณาจักรเป็นชาวพุทธ ท่านมุ้ยได้สร้างฉากที่น่าตื่นเต้นมีรายละเอียด เพื่อที่จะคลายความสงสัยในหนังสือพงศาวดาร ด้วยภาพยนตร์เรื่องนี้ ท่านได้พยายามยกระดับ ภาพยนตร์ไทยไห้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ ท่านมุ้ยยังได้แสดงภาพกลยุทธที่พระนเรศวรใช้ในการต่อสู้กับพม่า หลายครั้งหลังจากประกาศอิสรภาพ แม้ว่าพระนเรศวรไม่มีทหาร เพียงพอสำหรับทำศึกต่อต้านทัพพม่าที่มีกำลังพลมากกว่าในที่สุด แล้วพระองค์และกองทหารก็ได้รับชัยชนะ เหมือนเป็นความท้าทาย สำหรับนักสร้างหนังมันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นพระราชาที่ดีและประสบ ความสำเร็จได้ในเวลาเดียวกัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.kingnaresuanmovie.com/index_thai.php
|