ศิลปะ
ของ
ประเทศไทย

ตำนานแห่งนางกินรี

จานีน ยโสวันต์

มีเทพนิยายอันโรแมนติกเกี่ยวกับความรักระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตครึ่งมนุษย์
 ครึ่งปักษาที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ นางกินรีทั้ง 7 พระองค์ทรงสรงน้ำอยู่ที่
สระอโนดาตที่มีน้ำใสดุจผลึกแก้ว โดยที่นางกินรีทั้งหมดถอดปีกและหางออก
วางไว้  พรานบุญ นายพรานมือฉมังผู้เป็นพระสหายของพระสุธนได้ขโมยปีกและ
หางของนางมโนราห์ซึ่งเป็นนางกินรีที่มีรูปโฉมงดงามสุด มัดนางด้วยบ่วงบาศแล้ว
นำนางไปเป็นของขวัญแด่พระสุธน ทั้งคู่ตกหลุมรักซึ่งกันและกันในทันทีที่แรกพบ
พระสุธนได้เก็บซ่อนปีกและหางของมโนราห์เพราะกลัวว่าวันหนึ่งเธอจะบินหนีไป
จากเขาและยังได้แต่งตั้งให้นางเป็นพระราชินีอีกด้วย

ที่ปรึกษาของพระเจ้าแผ่นดินรู้สึกไม่พอใจเพราะเขาต้องการให้บุตรสาวของเขาได้
เป็นพระราชินี เมื่อพระสุธนได้ออกไปต่อสู้เพื่อราชอาณาจักร ที่ปรึกษาได้เพ็ดทูล
กับพระมารดาของพระสุธนว่า นางมโนราห์จะนำภัยพิบัติและความเสียหายมาสู่
บ้านเมือง ความตายของนางมโนราห์เท่านั้นที่จะทำให้ความเลวร้ายสูญสิ้นไป
ถึงแม้ว่าสมเด็จพระมารดาของพระสุธนจะรัใคร่นางมโนราห์เพียงใด เพราะเธอเป็น
นางรำที่มีความสามารถมาก แต่สมเด็จพระมารดาเกิดความเป็นห่วงพระโอรสที่จะ
พบกับภัยอันตราย เนื่องจากนางมโนราห์มิใช่มนุษย์จริงๆ ความคิดเห็นทั้งหลาย
ลงตัวอยู่ที่ต้องเผานางมโนราห์ทั้งเป็น

ความฉลาดเฉลียวของนางมโนราห์ เธอร้องขอโอกาสสุดท้ายที่จะเต้นระบำให้กับ
มารดาของพระสุธนเพื่อการบวงสรวงการบูชายัญด้วยไฟ เธอได้ขออนุญาตสวมปีก
และหาง หลังจากที่เธอร่ายรำเสร็จลง เธอมอบจดหมายให้แก่พระสุธนและบินหนี
ไปจากพิธีบูชายัญ ในเนื้อความของจดหมายแจ้งว่า เธอจะรอคอยพระสุธนที่เขา
ไกรลาส แต่พระสุธนกว่าจะได้พบเธอจะต้องใช้เวลารอคอยถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
มิฉะนั้นทั้งคู่ก็จะไม่ได้พบกันอีกเลย

พระสุธนออกรบได้รับชัยชนะและกลับมา ทรงพบว่าภรรยาได้บินหนีกลับเขา
ไกรลาสไปเสียแล้ว พระองค์ทรงร้องขอให้พรานบุญนำพระองค์ไปที่ป่าหิมพานต์
การเดินทางนี้ใช้เวลา 7 ปี 7 เดือน  และ 6 วัน จึงเดินทางมาถึงเชิงเขาไกรลาส
อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังไม่พบนางมโนราห์เพราะปราสาทที่พำนักของเธออยู่บน
ยอดเขาสูง เพื่อที่จะพบเจอเธอได้ทันเวลา พระองค์ทรงเดินทางด้วยวิธีเกาะเท้า
ของนกยักษ์บินขึ้นไปบนปราสาทของนางมโนราห์

พระบิดาของนางกินรี ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักร นครกินรีทรงมีพระ
ประสงค์ให้พระสุธนได้พิสูจน์ความรักและความจริงใจที่มีต่อมโนราห์ ถ้าเขารักเธอ
จริง เขาควรจะสามารถระบุว่านางมโนราห์เป็นผู้ใด จากนางกินรีพี่น้องทั้ง 7 องค์ที่
มีรูปร่างลักษณะนางกินรีทั้ง 7 องค์ที่คล้ายคลึงกัน พระสุธนเกือบไม่สามารถที่จะ
บอกความแตกต่างได้ แต่พระองค์ทรงจำแหวนหมั้นที่มอบให้กับนางมโนราห์ ได้
และพระองค์ก็ได้เลือกนางมโนราห์จากการสวมแหวนที่พระองค์มอบให้ และ
ท้ายที่สุดพระสุธนและนางมโนราห์ได้อยู่ครองรักร่วมกันตลอดไป

การแสดงรำมโนราห์ในภาคใต้ของประเทศไทยมักจะแสดงโดยชาวบ้านท้องถิ่น
การรำมโนราห์และการแสดงละคร มีทั้งการร่ายรำแบบเดิม(โนราห์แม่บท)และ
แบบแก้ไขใหม่ (โนราห์ตามบท) มโนราห์นั้นเน้นในเรื่องการร่ายรำมากกว่าเรื่องราว
ที่รับมาจากมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ ผู้แสดงทั้งหมดเป็นผู้ชาย แต่งตัว
เพื่อเล่นเป็นบทผู้หญิง

มโนราห์ หรือ โนราห์เป็นการแสดงระบำแบบดั้งเดิมของประเทศมาเลเซีย ผู้มี
ความรู้บางคนในประเทศมาเลเซียเชื่อว่ามโนราห์เป็นศิลปะการแสดงโบราณที่มีต้น
กำเนิดจากภาคใต้ของประเทศไทย และอาจวิวัฒนาการมาจากพิธีการเซ่นสรวง
ของเหล่านายพราน ทุกวันนี้ได้มีการแสดงมโนราห์กันอย่างกว้างขวางในฐานะที่
เป็นรูปแบบศิลปะสำหรับประชาชนทั่วไป คำว่ามโนราห์มาจากชื่อของตัวเอกหญิง

ในนิยายเรื่องมโนราห์ที่เป็นนิยายอิงพระพุทธศาสนา มีการแสดงมโนราห์อยู่สอง
ประเภท ประเภทแรกนั้นแสดงเพื่อเหตุผลทางพิธีกรรมเฉพาะเช่นการแก้บนหรือ
เพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ที่จะมาถึง อีกประเภทคือการแสดงเพื่อความบันเทิง งาน
แต่งงาน งานรื่นเริงต่างๆ มโนราห์นั้นเป็นที่นิยมในเมืองเคดาห์ ปะลิส และ กลันตัน
ในประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับหลายๆ จังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย
มโนราห์ยังมีชื่ออื่นๆ คือโนราห์ หรือละครชาตรี เครื่องดนตรีที่ใช้คือ ฉาบ1 คู่ ฆ้อง
ขนาดเล็ก กรับไม้ กลองสองหน้า รูปถัง ปี่ กลองรูปทรงแจกันหน้าเดียว ภาษาที่
ใช้ขึ้นอยู่กับสำเนียงท้องถิ่น นักแสดงชาวกลันตันก็ใช้สำเนียงกลันตัน ชาวปะลิสก็
ใช้สำเนียงไทยและปะลิส ทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ใช้สำเนียงท้องถิ่นภาคใต้

 

ภาพประกอบ
นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต
ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ปี 2543

Send Us Your Comments
About This Article

©2006 Janine Yasovant
©2006 Publication Scene4 Magazine

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the
Archives

 

 

 

march 2006

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Qreviews | Letters | Links Subscribe | Privacy | About | Terms | Contact | Archives | Patron-Subscribers
EMAIL THIS PAGE • SEARCH THIS ISSUE