. . . และบทความเรื่ององค์บาก 3 ของโทนี่ จา
เป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ทราบถึงภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัล ชนะเลิศปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เรื่อง "ลุงบุญมี ระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives)" เป็น ผลงานของคุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ได้เขียนไว้ว่า:
"ในตอนเย็นวันอาทิตย์ที่มีเทศกาลภาพยนต์เมืองคานส์ครั้งที่ 63นั้นจบลง ด้วยความรู้สึกน่าตกใจและตื่นเต้นที่รางวัลปาล์มทองคำถูกมอบให้กับ ภาพยนตร์เรื่องลุงบุญมีระลึกชาติ" ที่เป็นผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์ชาว ไทย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล แน่นอนว่าเป็นผู้ชนะเลิศเพียงคนเดียวที่ทำ หนังที่มีฉากแสดงเรื่องเพศระหว่างเจ้าหญิงและปลาดุก
"ลุงบุญมีระลึกชาติ" เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวถึงชายคนหนึ่งที่กำลังจะตายกับ เรื่องราวในชาติก่อนๆของเขา และยังมีเครือญาติที่เป็นวิญญาณเรื่องนี้ได้ รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์แต่ในขณะเดียวกันก็มีผู้อื่นที่ไม่ชอบงานของเขา เช่นกัน ผลการพิจารณาอาจจะดึงดูดให้ ทิม เบอร์ตันที่เป็นประธานและ คณะกรรมการที่มีวิสัยทัศน์ที่เป็นผู้ตัดสินรางวัล ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็น จริง ตอนที่ขึ้นไปรับรางวัล คุณวีระเศรษฐกุลหรือเจ้ยได้พูดเป็นภาษา อังกฤษว่า"this is like another world for me" (สำหรับตัวผมแล้วนี่เป็น เหมือนอีกโลกหนึ่ง) และได้ระบุไว้ว่าเรื่องลุงบุญมีระลึกชาติเป็นภาพยนตร์ ไทยเรื่องแรกที่คว้ารางวัลปาล์มทองคำ เขาพูดกับคณะกรรมการต่อไปว่า "I would really like to kiss all of you" (ผมอยากจะจูบพวกคุณทุกคนเลย) และยังได้กล่าวต่อไปอีกว่าเขาชอบทรงผมของคุณเบอร์ตันอีกด้วย คุณ วีระเศรษฐกุลยังได้ขอบคุณว่า "all the spirits and ghosts in Thailand who made it possible for me to be here." (ด้วยจิตและวิญญาณใน ประเทศไทยทุกดวงที่ทำให้ผมมาอยู่ที่นี่ได้)และเขายังได้กล่าวต่อไปว่า "I'd like to send a message home: This prize is for you."
|
(ผม อยากจะส่งข้อความกลับบ้าน รางวัลนี้เป็นของพวกคุณ) นี่เป็นการประกาศ ที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับชาวไทย
โทนี่จาองค์บาก 3
กลับเข้าสู่เรื่องกันเถอะ บางคนกล่าวว่าภาพยนตร์เรื่ององค์บาก (พ.ศ. 2546) เป็นความสำเร็จสูงสุดของโทนี่ จา (ทัชชกร ยีรัมย์) ด้วยเหตุผล หลายประการ หนึ่งในนั้นการอุทิศตนฝึกฝนศิลปะการต่อสู้จาสำเร็จวิชาการ ต่อสู้หลายชนิดรวมทั้งมวยไทยซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย ใน ภาพยนตร์ จาแสดงให้เราทราบว่ามวยไทยโบราณนั้นใช้งานได้จริงและเป็น อันตรายแค่ไหน
นอกเหนือไปจากนี้ เขาได้เพิ่มเติมยิมนาสติกเข้าไปทำให้ท่วงท่าต่อสู้มี ความน่าสนใจกว่าเดิม ดังนั้นจึงสามารถเข้าใจได้ว่าหลายๆคนชื่นชมและให้ การสนับสนุนเขา
ในปีพ.ศ. 2548 เขารับบทเป็นผู้ชายคนหนึ่งที่เดินทางไปตามช้างที่ถูก ลักพาตัวในภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า "ต้มยำกุ้ง"ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามี พล็อตการดำเนินเรื่องไม่ดีเท่ากับเรื่ององค์บากภาคแรก
องค์บาก 2 (พ.ศ. 2551) เป็นความพยายามครั้งแรกของจาในการกำกับ หนังของตัวเองแต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จตามที่เขาตั้งใจเท่าใดนัก เพราะมีปัญหามากมายในช่วงถ่ายทำรวมไปถึงเรื่องการเงินและการจัดการ ผิดพลาด หลังที่มีการเลื่อนการถ่ายทำหลายครั้งจาก็ได้เจรจาตกลงกับเสี่ย เจียงที่เป็นประธานของบริษัทสหมงคลฟิล์ม (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) จน ได้รับเงินเพิ่มเติมแต่ก็ต้องแบ่งตัวหนังออกเป็นสองส่วน
องค์บาก 3 (พ.ศ. 2553) เป็นหนังภาคต่อซึ่งเริ่มต้นหลังจากตอนจบภาค 2 พล๊อตเรื่องของหนังเรื่องนี้เรียบง่ายธรรมดาแต่ฉากแอ็กชั่นและการต่อสู้ ยังคงยอดเยี่ยมเหมือนเดิม
เรื่องย่อองค์บาก3
หลังจากที่เทียนสังหารเชอนังหัวหน้าชุมโจรในระหว่างการประลองเขาก็ถูก จับกุมและถูกทรมานอย่างทารุณตามคำสั่งของพระยาราชเสนาพวกโจรที่ เหลือพยายามที่จะช่วยแต่ก็ถูกสังหารทั้งหมด โชคยังดีที่หลังจากการ ประหารชีวิตเทียนถูกขัดขวาง เทียนได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านและ หญิงคนรักที่มีชื่อว่าพิมแต่เขาก็สูญเสียความสามารถในการต่อสู้ไปทั้งหมด เมื่อเขาฟื้นขึ้นมาและทราบว่าตัวเองเป็นคนพิการ ชาวบ้านยังช่วยหล่อ พระพุทธรูปให้กับเทียนอีกด้วย ในเวลาเดียวกันนั้นเองพระยาราชเสนา กำลังทุกข์ทรมานกับคำสาบและตามหาพ่อมดมนตร์ดำที่มีชื่อว่าภูตสางกาผู้ ที่สามารถถอนคำสาบได้ โดยไม่คาดคิด ภูตสางกาสังหารพระยาราชเสนา และสถาปนาตนเองเป็นพระราชาคนถัดไป
เมื่อไม่มีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่เทียนพยายามที่จะฆ่าตัวตายแต่พระบัวที่เคย เป็นครูสอนนาฏศิลป์ได้มาห้ามไว้และได้สอนให้เทียนรู้จักความดีงามและ การทำสมาธิ พิมพยายามที่จะช่วยเหลือเขาโดยการทำกายภาพบำบัติด้วย การร่ายรำ เมื่อเทียนหายดีแล้วเขาได้พยายามผสมผสานการร่ายรำ ศิลปะ การต่อสู้ทั้งหมดและการทำสมาธิเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสุดยอดวิชาการต่อสู้ ที่เรียกว่า "นาฏยุทธ์" ต่อมาหมู่บ้านที่เทียนหลบซ่อนอยู่ถูกทำลาย ชาวบ้านทุกคนถูกจับกุมตามคำสั่งของพระราชาองค์ใหม่เทียนต่อสู้กับ ทหารหลายคนที่อยู่ในหมู่บ้านและหน้าผากของพระพุทธรูปเสียหายจากคม ดาบของศัตรูในระหว่างการต่อสู้ พระบัวยังได้ให้ไม้เท้าเพื่อลบล้างมนตร์ดำ เทียนรีบไปช่วยชาวบ้านและเอาชนะภูติสางกาได้ในที่สุด
แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดบ้างในหลายๆฉาก ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังดูสนุกได้อยู่ จาพยายามที่จะแสดงอารมณ์ของตัวละครในหนังและลดระดับความรุนแรง ของเรื่องลง
มีความน่าสนใจที่ว่าฉากการต่อสู้ตอนสุดท้ายมีสองแบบ แบบแรก เทียนถูก ผลักดันด้วยความเกลียดชังและการล้างแค้นหลังจากที่พิมถูกฆ่าโดยภูติ สางกา ทั้งคู่ต่อสู้ด้วยความโกรธและเทียนถูกเสียบด้วยหอกจนถึงแก่ความ ตาย แบบที่สองทำให้เราทราบว่าเทียนละทิ้งอวิชาและขว้างไม้เท้าลบล้าง คำสาบและตาอสู้กับภูติสางกาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจฆ่าและไม่ได้ใช้อาวุธเขาจึง มีชีวิตอยู่ในตอนจบ ส่วนทั้งสองรูปแบบนี้จะอยู่ในการสื่อความหมายได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่งกว่า
|