ในเดือนพฤษภาคม 2551 เศรษฐา ศิระฉายานำวงดนตรีกลับมาอีกครั้ง ดิ อิมพอสสิเบิ้ลส์คอนเสิร์ตที่สยามพารากอนฮอลล์ กรุงเทพมหานคร มี ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เพราะไม่มีเหตุผล” เป็นการกลับมาอย่างมีชัย ชนะของอดีตนักร้องชื่อดังพร้อมกับวงของเขา วัย 64 ปี เศรษฐา ศิระ ฉายา ฉลอง 40 ปีของการทำงานเพลง หลังจากเกิดสงครามเวียดนาม
เศรษฐาและวงดนตรีได้เปลี่ยนกระแสความนิยมบทเพลงของประเทศ ไทย ในตอนนั้นบทเพลงไทยมีแต่เพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง เพลง ลูกทุ่งเป็นที่นิยมในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนาและผู้ใช้แรงงาน เนื้อหาหลักคือความเรียบง่ายของ ชีวิต ภาษาที่เพลงลูกทุ่งใช้คือสำเนียงท้องถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือปน กับภาษาไทยมาตรฐาน ในตอนนั้นผู้คนจะได้ฟังบทเพลงผ่านวิทยุคลื่น A.M. บทเพลงยอดนิยมบางเพลงก็มาจากภาพยนตร์
ในทางกลับกัน เพลงลูกกรุงจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวเมืองกรุงเทพ เป้าหมายหลักคือเป็นบทเพลงเล่นในงานรื่นเริงสำหรับชนชั้นกลางและผู้ มีฐานะร่ำรวย ชาวไทยที่เติบโตมาในช่วงปีพ.ศ. 2503 เป็นต้นมาจนถีงปี พ.ศ. 2513 นักร้องชายเช่น ชรินทร์ นันทนาคร และ สุเทพ วงค์คำแหง ไนท์คลับเป็สถานที่ผู้คนเข้าไปรับประทานอาหารและเต้นรำกัน เพลงลูก กรุงจะใช้ภาษาไทยมาตรฐานและรับฟังได้ทางคลื่นวิทยุ F.M. ตอนนั้น ยังไม่มีเทปเพลง มีแต่เครื่องเล่นแผ่นเสียง ตอนนั้นเป็นเวลาที่บทเพลง ไทยมีสองหน้า หน้าแรกเพื่อคนยากจนและคนงานในหมู่บ้าน อีกหน้า หนึ่งเพื่อคนมีการศึกษาและคนร่ำรวย
ในช่วงสงครามประเทศไทยเป็นฐานทัพของทหารอเมริกัน ทั้งในด้าน การทำยุทธการและความบันเทิง การเข้ามาตั้งฐานทัพนี้เป็นผลกระทบที่ ใหญ่และยาวนานสำหรับสังคมไทยเลยทีเดียว
ชื่อของวง ดิ อิมพอสสิเบิ้ลส์มาจากคนรุ่นหนุ่มในช่วงสงครามเวียดนาม วงดนตรีหลายกลุ่มเล่นในผับและบาร์ในกรุงเทพและต่างจังหวัด วงสตริง คอมโบ้เป็นประเภทของวงดนตรีที่เป็นที่นิยมมากในสมัยนั้นเพราะวง ดนตรีที่เล่นเครื่องดนตรีขนาดเล็กเช่นเครื่องสาย เครื่องเป่า และหวูด ได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีอังกฤษเช่น The Beatles ในปีพ.ศ. 2515 มีการแข่งขันประกวดวงสตริงคอมโบ้และวงดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ได้รับรางวัล ชนะเลิศ พวกเขายังชนะในการแข่งขันติต่อกันอีกสามคราทำให้พวกเขา เป็นที่นิยมมากกว่าเดิม วงดนตรีนี้ได้มอบบทเพลงโดยที่ไม่ได้แบ่งแยก ชนชั้น ความร่ำรวยหรือความยากจน
ตั้งแต่เริ่มต้น วงดนตรีมีโอกาสที่จะแสดงดนตรีสำหรับภาพยนตร์และก็ เป็นที่นิยมสำหรับผู้ฟังที่ชอบร้องเพลงไปตามภาพยนตร์ ในปีพ.ศ. 2514 บทเพลง“หนาวเนื้อ” ได้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง“โทน” เพลงนี้เป็นที่ นิยมมากในสมัยนั้น ในปีเดียวกันอัลบั้ม “เป็นไปไม่ได้” ถูกสร้างขึ้น มี เพลงที่นิยมคือ เป็นไปไม่ได้ ระเริงชล ชาวดง ชั่วนิจนิรันดร์ ไหนว่าจะจำ วงดนตรีเดินทางไปแสดงยังต่างประเทศทั้งฮาวายและยุโรป จากนั้นได้ ออกอัลบั้มชุดที่สองคือ “หมื่นไมล์แต่ใจแค่เอื้อม” เพลงที่เป็นที่รู้จักคือ หากรักเป็นเช่นทะเล ว้าเหว่ หลังจากนั้นจึงเดินทางไปแสดงในยุโรปอีก ครั้งหนึ่ง
ในปีพ.ศ. 2519 พวกเขาออกอัลบั้มสุดท้ายที่มีชื่อว่า “Hot Peppers” หลังจากเดินทางกลับมาจากการแสดงในยุโรป มีเพลงที่เป็นที่นิยมคือ ทัศนาจร ลาวดวงเดือน หาดบ้านเพ
ดิ อิมพอสสิเบิ้ลส์ทำงานร่วมกันเป็นเวลา 10 ปี และแยกวงในปีพ.ศ. 2520 เศรษฐาประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องเดี่ยว และนักแสดง ภาพยนตร์ แต่เขาก็พยายามจะจุดไฟความงดงามและศักดิ์ศรีของวง ดนตรีอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาอีกหลายปี พวกเขารวมตัวกันในคอนเสิร์ต หลายๆโอกาส การเดินทางไปสู่เส้นทางแห่งความทรงจำ คอนเสิร์ต ใหญ่ที่ได้จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่กรุงเทพนั้นเป็นการบรรลุถึง จุดสูงสุดของการเดินทางนั่นเอง
|