ปีนี้เป็นปีพัชราภิเษกแห่งการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงของประเทศ ไทย การเฉลิมฉลองเริ่มต้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และเพื่อเป็นเกียรติแด่ พระมหากษัตริย์ไทยที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกและปวงชนชาวไทยร่วม เป็นสักขีพยานในพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่ตระการตาในวันที่ 12 มิถุนายน 2549 เรือพระราชพิธีออกจากท่าวาสุกรีไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังวัดอรุณราชวนาราม ฝีพายมากกว่า 2,000 คนจากกองทัพเรือหลายหน่วยจะมีส่วนร่วมในขบวนเรือ จำนวน 52 ลำ
แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน 11 จังหวัดในประเทศไทยจากแม่น้ำทางภาคเหนือของ ประเทศไทย 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ไปรวมตัวกันที่จังหวัดนครสวรรค์ เรา สามารถกล่าวได้ว่าแม่น้ำสายนี้คือแม่น้ำสายวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณกาลจวบจน ปัจจุบัน การเสด็จประพาสทางน้ำเป็นวิธีการที่ใช้บ่อยสำหรับพระมหากษัตริย์ไทย ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงใช้เรือในพิธีลอยกระทงในพระราช พีธีจองเปรียงในสระน้ำขนาดใหญ่และมีการจุดเทียนเล่นไฟในคืนวันเพ็ญ ในสมัย อยุธยา เมืองหลวงนั้นถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำลำคลอง เรือมีบทบาทสำคัญในการ ขนส่งเช่นเดียวกับการทำสงคราม เรือรบหลายลำถูกสร้างขึ้นในช่วงนี้
แม้กระทั่งยามปกติ ทหารยังคงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการจู่โจมยาม เกิดภาวะฉุกเฉินฤดูน้ำหลากเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฝึกจัดรุปแบบการรบ เนื่องจากไม่ต้องทำการเพาะปลูก ฤดูกาลนั้นเป็นช่วงพิธีการถวายผ้าพระกฐินเมื่อ พระมหากษัตริย์ทรงถวายผ้าไปยังวัดต่างๆ พิธีการเดินเรือเพื่อถวายผ้าพระกฐินจึง กลายเป็นพิธีการสำหรับการเฉลิมฉลองของประชาชนเช่นกัน
การเสด็จพยุหยาตราทางชลมารคยังได้ถูกจัดเตรียมเมื่อกษัตริย์ทรงมีพระประสงค์ จะเดินทางเพื่อความสำราญพระราชหฤทัยและเพื่อพิธีกรรมทางศาสนาเช่นพิธี ราชาภิเษก บูชาพระบรมสารีริกธาตุ หรือเพื่อต้อนรับทูตานุทูตจากต่างประเทศ การ ประดับตกแต่งเรือเป็นพิเศษได้สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ชาวต่างชาติที่มาเจริญสัม พันธไมตรีกับประเทศสยามในอดีตกาล ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ 2199 - 2231) ทรงรับสั่งให้นำกองเรือไปต้อนรับคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 บาทหลวง นิโคลัส แชเวส ผู้เขียนประวัติศาสตร์สยามในหนังสือที่ชื่อว่า "Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam" ได้อธิบาย ขบวนเรือพิธีในสมัยอยุธยาไว้ดังนี้
"งดงามหาใดเปรียบไม่ได้แล้วจากการแสดงทางเรือ ขบวนเรือพีธีมีถึง 200 ลำ นำ ขบวนโดยเรือหลวง ฝีพายนั่งเรียงกันสองแถว จำแนกโดยแถบสีแดงที่แขนเสื้อ แต่ ละนายสวมหมวก เสื้อ กางเกงที่มีแถบสีทอง ฝีพายเป็นจังหวะตามบทเพลงยอยศ พระมหากษัตริย์ ไม้พายก็มีแถบสีทองเช่นกัน สำหรับเรือหลวงก็ตกแต่งม่านด้วย เพชรพลอยอันล้ำค่า"
สำหรับปีนี้มีเรือพระราชพิธีทั้งหมด 52 ลำ ซึ่งมีเรือรบหลวงขนาดใหญ่ 4 ลำ ดังต่อไปนี้
1. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ชื่อมาจากเรือพระที่ นั่งศรีสุพรรณหงส์ที่สร้างในรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1
พลเรือเอกพระยาราชสงคราม ( กร หงสกุล ) ซึ่งเป็นสถาปนิกต่อเรือพระที่นั่งแบบ กิ่งลำนี้ หัวเรือเป็นรูปหงส์ลงรัก ปิดทองประดับกระจกภายนอกทาสีดำ ท้องเรือ ภายในทางสีแดง มีความยาว 44.90 เมตร ความกว้าง 3.14 เมตรใช้ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 2 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน และคนถือ ฉัตร 7 คน
2. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เรือพระที่นั่งลำแรกที่มีหัวเรือเป็นรูปสัตว์ที่นำมาใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยพระมหา จักรพรรดิ์ที่ทรงเปลี่ยนเรือเสือที่ใช้ลำเลียงคนและเสบียงไปกลายไปเป็นเรือชัยที่ ติดปืนใหญ่ที่หัวเรือที่เป็นรูปสัตว์ต่างๆที่มีอยู่และถูกค้นพบในสมัยนั้นหรือเป็นสัตว์
ในเทพนิยาย สัตว์ต่างๆ เหล่านี้ เป็นตราประทับของหลายๆ กระทรวงเช่น ราชสีห์ คชสีห์ นาค เรือหลวงบางลำตกแต่งหัวเรือเหมือนกับตราพระมหากษัตริย์ หัวเรือรูป ครุฑเป็นแบบของตราประทับของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นรูปครุฑกางปีก ซึ่งเป็นที่ เคารพเสมือนสมมุตเทพ ประทับอยู่บนเรือ เป็นที่นับถือมาแต่ครั้งโบราณ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เมื่อย้อนกลับไปสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่3 ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2367 – 2400) พระองค์ทรงมีพระราช ประสงค์ให้ต่อเรือตามแบบสมัยอยุธยา อันที่จริงแล้วยังมีข้อความในบันทึกกล่าวไว้ ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริว่าการจัดสร้างเรือพระที่นั่ง
นารายณ์ทรงสุบรรณ หรือเรือพระที่นั่งมงคลสุบรรณในเวลานั้นได้สร้างเกียรติยศ ให้กับประเทศชาติโดยรวม เรือพระที่นั่งลำนี้มีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร และลึก 1.10 เมตร ภายในเรือทาสีแดงและจุฝีพายได้ 65 คน หัวเรือแบบเดิม เป็นรูปพญาครุฑ หรือครุฑทรงนาค เจาะรูใต้ครุฑเพื่อใส่ปืนใหญ่ การเรือพระราช พิธีได้รับการสร้างโดยกองทัพเรือหลวงและฝ่ายช่างศิลป์เพื่อเป็นเกียรติแก่ปี กาญจนาภิเษกครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชครบรอบ 50 ปี เรือลำนี้ถูกใช้ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินในปี 2539 2542 และการประชุมApec ปี 2546
3. เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งศรี ต่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 5 หัวเรือสลักรูปนาคเล็กๆ ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 45.40 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก 0.46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1คน พล สัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน และคนถือฉัตร 7 คน
4. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์นาค7 เศียร ลำแรก ต่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ลำปัจจุบันต่อขึ้นใหม่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำ ลึก 0.31 เมตร กำลัง 3.02 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คน ถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ1 คน คนเห่ 1คน และคนถือฉัตร 7 คน
มีบทเพลง 4 บท ร้องในเวลาที่ต่างกัน บทแรกเรียกว่า เกริ่นเห่ บทนี้บอกให้ทราบ ว่าเรือจะเคลื่อนที่แล้ว บทที่สอง ชวาลาเห่ มีจังหวะช้า ได้ยินเมือเรือออกไปอย่าง ช้าๆ ฝีพายพายเรือช้าๆ จากท่า ก่อนที่ความสนุกจะเริ่ม มีบทเพลงยอยศกษัตริย์ เพลงบทสุดท้ายนั้นสนุกที่สุด เรียกว่า มูลเห่ กล่าวถึงความสวยงามของขบวนพยุ ยาตราทางชลมารค ฝีพายพายเรืออย่างมีความสุขไปตามความเร็วที่เพิ่มขึ้น
พิธีการทั้งหมดเป็นภาพที่น่าประทับใจ ไม่ใช่เพียงแค่ความบันเทิงเท่านั้น พิธีนี้มี ความหมายลึกซึ้งสำหรับคนไทยเพราะเป็นการบ่งบอกถึงประเทศของพวกเขาใน โลก การเชื่อมโยงพวกเขาต่อประวัติศาสตร์ทั้งหมดและยกย่องสัญลักษณ์ส่วนรวม ของวัฒนธรรมของคนไทยคือ พระมหากษัตริย์ และยังเป็นการเป็นการเปิดเผย ความกว้างขวางของการออกแบบไทยและศิลปะการตกแต่งอันสวยงาม
ท่านสามารถฟังบทเพลงที่ใช้ในพิธีได้ที่ www.navy.mi.th/sctr/royal_barge_60/indexeng.php
|