ดิฉันรู้สึกสงสัยอยู่เสมอว่าทำไมสัญลักษณ์ของผู้หญิงเชียงใหม่ในอดีตคือ ร่ม ภาคเหนือของประเทศไทยป็นสังคมแบบผสมผสานเพราะคนไทย พยายามอยู่กับชาวต่างประเทศอย่างสงบสุข สภาพทางภูมิประเทศที่ สวยงาม รอยยิ้มที่มีเสน่ห์ อาหารตามภูมิภาค และวิถีชีวิตพื้นบ้าน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ดึงดูดให้คนไทยทั่วทั้งประเทศมาเยี่ยมชมสักครั้งหนึ่งในชีวิต ใน เวลาของงานเทศกาลและพิธีการต่างๆ พ่อแม่และลูกๆไปวัดในตอนเช้า หลังจากนั้นวัยรุ่นอาจไปพบเพื่อนและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน นอกเหนือ จากนี้ งานสิ่งทอและงานหัตถกรรมพื้นบ้านได้รับการสนับสนุน ภาพลักษณ์ ของผู้หญิงในชุดพื้นบ้านถีบจักรยานและถือร่มในมือกลายเป็นลักษณะ สามัญของผู้หญิงไทยภาคเหนือมานานกว่าร้อยปี
|
ในแต่ละปีผู้หญิงหน้าตาดีที่สวมชุดไทยภาคเหนือและถือร่มอยู่ในมือจะมา ประกวดความงาม นี่เป็นหนึ่งในแผนการที่แสดงว่าคนไทยภาคเหนือ โปรโมทเรื่องการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างไร ช่วงเวลาหนึ่งใน อดีต นักศึกษาหรือคนทำงานคิดว่าผู้หญิงเชียงใหม่มีเสน่ห์มากที่สุด พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงสาวกลุ่มนี้มีจิตใจเปิดกว้างพอที่จะให้ชายหนุ่มที่เป็นผู้ มาเยือนติดตามหญิงสาวไปเที่ยวงานเทศกาลและงานพิธีต่างๆ เพื่อให้ดู งดงามและเป็นการคุ้มครองหญิงสาว ร่มเลยกลายเป็นความจำเป็นอย่าง มากเช่นเดียวกับพัดในประเทศญี่ปุ่น
การทำร่มแบบดั้งเดิมนั้นยังคงเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเข้มแข็งในประเทศไทย มีบางหมู่บ้านทำร่มตามตามแบบฉบับช่างฝีมือที่ถูกสืบทอดมาหลายรุ่นใน ครอบครัว ศูนย์ทำร่มบางแห่งนั้นเป็นที่รู้จักในหลายๆประเทศ
ในปีพ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จ
ประพาสประเทศทางยุโรป พระองค์เสด็จทอดพระเนตรการแสดงอุปรากรใน เมืองปารีส อุปรากรในเรื่องนั้นมีชื่อว่า "Madama Butterfly" หลังจากที่ พระองค์เสด็จกลับมายังประเทศไทย (เมื่อก่อนเรียกว่าสยาม) พระองค์ทรง เล่าเรื่องราวของอุปรากรเรื่องนี้ให้กับสมเด็จกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ ผู้ซึ่งประทับใจในเรื่องเล่านี้มากได้ดัดแปลงเรื่องดั้งเดิมให้เป็นละครเพลง เรื่อง "สาวเครือฟ้า" ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พอพระราชหฤทัยมากกับการแสดงชุดนั้น
สาวเครือฟ้า ร้อยตรีพร้อมเดินทางไปรับราชการที่จังหวัดเชียงใหม่และได้พบกับเครือฟ้า ซึ่งเป็นหญิงสาวที่เขาหลงรัก ทั้งสองเขาได้แต่งงานและมีบุตรด้วยกัน ภายหลังจากนั้นร้อยตรีพร้อมถูกส่งตัวกลับไปยังกรุงเทพแต่เขาไม่ได้พา ภรรยาไปด้วย เครือฟ้ารอร้อยตรีพร้อมด้วยความหวังและความรัก โชคไม่ดี ที่เมื่อร้อยตรีพร้อมกลับมาที่กรุงเทพเขาได้แต่งงานใหม่กับผู้หญิงกรุงเทพที่ ชื่อว่าจำปา ต่อมาเครือฟ้ารู้สึกตื่นเต้นดีใจมากเมื่อร้อยตรีพร้อมกลับมาที่ เชียงใหม่ แต่เธอก็พบว่าเขาอยู่กับภรรยาใหม่ เธอรู้สึกเสียใจมากที่ถูกทรยศ จึงได้ฆ่าตัวตายในท้ายที่สุด
|
เรื่องสาวเครือฟ้าเป็นการดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นที่เรียกว่า"The Madam Butterfly" ซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยจอห์น ลูเธอร์ ลอง ในปีพ.ศ. 2440 และได้ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารเซนจูรี่ สามปีต่อมาเรื่องราวได้รับการดัดแปลงเป็น ละครเวทีโดยนายเดวิด เบลาซโก้โดยเล่นที่นิวยอร์กและอังกฤษ ในอังกฤษ นายจิอาโคโม่ ปุกชินี่ได้เห็นการแสดงละครเวทีและได้เขียนบทละคร โอเปร่าจากเรื่องนี้ ในปีพ.ศ. 2447 เรื่องอุปรากรเรื่อง Madama Butterfly ได้เล่นเป็นครั้งแรกที่ ลา สกาลา แม้ว่าในตอนแรกจะมีกระแสตอบรับที่ไม่ ค่อยดีนักแต่อุปรากรเรื่องนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในงานคลาสสิคที่ประสบ ความสำเร็จและอยู่ทนนานที่สุดเรื่องหนึ่งของปุกชินี่
นับเป็นร้อยปีผ่านมาเรื่องของมาดามบัตเตอร์ฟลายนั้นได้ถูกสร้างมาหลาย ครั้งและได้กลายเป็นพล็อตเรื่องพื้นฐานของความรักและการทรยศ เรื่อง ของสาวเครือฟ้าถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไทย ความหมายที่เศร้าโศกของ เรื่องนี้เกี่ยวกับทัศนคติเรื่องความรักของสาวเหนือ สัญญลักษณ์ของการถือ ร่ม(สาวงามกางจ้อง)ที่มาจากละครร้องบัตเตอร์ฟลาย ที่ยังเป็นที่เล่าขาน ในนามของสาวเครือฟ้านั้นก็ค่อยๆจางหายไปตามกาลเวลา
|