ศิลปะ
ของ
ประเทศไทย

ดนตรีแห่งราชันย์ิ

จานีน ยโสวันต์

"คนที่ทำงานศิลปะก็ต้องรู้เรื่องวิชาการ และรู้หลักทางวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้เป็น
แบบแผนต่างๆ ต่อไป งานวิชาการก็ทำนองเดียวกัน จะต้องรู้หลักวิทยาศาสตร์ ใน
ขณะเดียวกันก็ต้องมีใจทางศิลปะจึงจะสามารถพัฒนางานนั้นให้ดีไปได้ และในทาง
วิทยาศาสตร์ก็ทำนองเดียวกัน ต้องมีความรู้ด้านวิชาการและต้องมีใจรัก ตั้งใจทำ
อะไรให้ดีขึ้น สรุปว่า ทั้งสามส่วนเป็นความสำคัญ ซึ่งต้องเกี่ยวเนื่องกัน งานศิลปะมี
ความสำคัญต่องานทั้งปวง ศิลปินเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ สมควรจะยกย่องเชิดชู
เกียรติต่อไป"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9
ที่พูดถึงความรักและประทับใจในดนตรีของพระองค์ที่ผ่านมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ ณ วันจันทร์ที่ 5
ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิน เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐ
แมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องในสมเด็จ
พระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทรา
บรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาในโรงเรียน
โนแวล เดอ ลา สวิส โรมอนด์ ชัยยี ซูร์ โลซานน์ และได้ทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียน
จิมนาส คลาสซิค คองโตนาล แห่งโลซานน์จนจบ ทรงได้รับประกาศนียบัตรชั้น
มัธยม และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน
2489 รัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนคริน
ทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสมบัติ แต่เนื่องจากยังทรงศึกษาไม่จบ จึงเสด็จฯ กลับไปยัง
สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อในวิชากฎหมายและการเมือง เพื่อให้เหมาะสม
กับการที่ต้องทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไป

หลังจากที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในช่วงต้นปี
2493 พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังประเทศไทย พระองค์ทรงมีความ
สนพระราชหฤทัยในศิลปะ กีฬา การเกษตรกรรม วิศวกรรม และพระองค์ทรงโปรด
ดนตรีแจ๊สเป็นพิเศษ รวมทั้งดนตรีต่างๆ ทุกประเภทด้วย สำหรับดนตรี พระองค์
ท่านเคยกล่าวมีใจความว่า ไม่ว่าจะเป็นแจ๊สหรือไม่ก็ตาม ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของ
ข้าพเจ้า และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญกับชีวิตของทุกคน สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้ว ดนตรี
คือความงดงาม เราควรจะจดจำคุณค่าของดนตรีทุกรูปแบบ ซึ่งอยุ่ในแต่ละอารมณ์
และกาลเวลาของดนตรีนั้น

ตนตรีแจ๊สเป็นที่นิยมมากในช่วงปี 2483 ในเวลานั้นเอง พระองค์ทรงเริ่มพระ
ราชนิพนธ์เพลงในทำนองบลูส์ อาทิ

แสงเทียน Saeng Tien
คลิกที่นี่เพื่อฟังเพลง     Click Here To Listen

อาทิตย์อับแสง  Artit Up Saeng
คลิกที่นี่เพื่อฟังเพลง     Click Here To Listen

สองบทเพลงนี้มาจากจำนวนบทเพลงกว่า 50 บทประพันธ์ของพระองค์ ดนตรีของ
พระองค์ท่านกลายเป็นส่วนสำคัญของคนไทย เพลงพรปีใหม่กลายเป็นบทเพลง
ฉลองปีใหม่ของไทย พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เพลง มหาจุฬาลงกรณ์ สำหรับ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพลงยูงทอง สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพลง
มาร์ชเกษตรศาสตร์ สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บทเพลงสัญลักษณ์สำหรับ
มหาวิทยาลัยรัฐบาลทั้ง 3 แห่ง สำหรับทางด้านทหาร บทเพลงมาร์ชราชวัลลภและ
เพลงธงชัยเฉลิมพลกลายเป็นบทเพลงที่ถูกบรรเลงเป็นประจำทุกปีในช่วงพระราช
พิธีสำคัญของชาติ

ในช่วงระยะเวลา60ปีแห่งการครองราชสมบัติของพระองค์ มีเหตุการณ์วิกฤตทาง
การเมืองและการปฏิวัติหลายครั้ง บทเพลงของพระองค์หลายชิ้นถูกนำไปใช้ใน
ทุกๆฝ่ายเพื่อค้นหาการสนับสนุน
พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านทฤษฎีดนตรีเป็นอย่างสูง พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการ
พระราชนิพนธ์ดนตรีสากลของประเทศไทย ด้วยการใช้คอร์ดที่แปลกและซับซ้อน
ทำให้เกิดเสียงประสานที่เข้มข้นและความหลากหลายของจังหวะเต้นรำ บทเพลง
ของพระองค์ท่านถูกบรรเลงอย่างต่อเนื่องและบางเพลงกลายเป็นเพลงอมตะ
เครื่องดนตรีที่พระองค์ทรงโปรดปรานที่สุดคือ แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต
พระองค์สามารถทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย พระองค์ทรงบรรเลงดนตรีร่วมกับ
วงดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดด้วยการใช้Jazz
improvisations และสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครงกับนักดนตรีต่าง ๆ ที่
มีชื่อเสียงของโลก เช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น
(Jack Teagarden) ไลโอเนล แฮมตัน (Lionel Hampton) สแตน เก็ตส์
(Stan getz) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกเหล่านั้นล้วนถวายการยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐาน ะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริยภาพสูงส่ง 

รูปแบบดนตรีแจ๊ซที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดคือ ดิ๊กซีแลนด์ และ
สวิง กล่าวสำหรับนักดนตรีแจ๊ซที่ต้องพระราชหฤทัย หนึ่งคือ ซิดนีย์ เบเชต
ดุ๊ก เวลลิงตัน
อีกหนึ่งคือ จอห์นนี่ ฮอดเจส

พระองค์ได้พัฒนาและสนับสนุนโครงการในพระราชดำรินับพันโครงการในหลายๆ
พื้นที่สำคัญต่อประชาชนชาวไทย แม้ว่าพระองค์ท่านจะเป็นพระมหากษัตริย์นัก
ประชาธิปไตย พระองค์ท่านยังเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย พระราชดำรัสของ
พระองค์จึงมีผลกระทบเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงเป็นกลางทางการเมือง แต่ปีนี้
วันที่ 4 ธันวาคม ก่อนวันคล้ายวันพระราชสมภพหนึ่งวัน พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส
แด่นายกรัฐมนตรีและชาวไทยทุกคนผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ พระองค์ทรงตรัส
อย่างจริงใจเกี่ยวกับสถานะภาพของพระองค์ หัวข้อมีชื่อว่า พระมหากษัตริย์ทำ
อะไรก็ไม่ผิด ประเทศไทยยังประกาศบังคับใช้กฏหมายที่ว่า ผิดกฏหมายที่จะ
วิพากวิจารณ์พระมหากษัตริย์ มาตราที่ 8 ของรัฐธรรมนูญของประเทศไทยระบุไว้ว่า
"องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพสัก การะผู้ใดจะละเมิด
มิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระ มหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้"
ภายใต้สถานะภาพนี้ พระองค์ตรัสมีใจความว่า การวิจารณ์ที่สร้างสรรค์เป็นการให้
ข้อมูลในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของผู้นำ ถ้ากษัตริย์ถูกห้ามวิจารณ์ ก็แสดงว่า
กษัตริย์มิใช่ปุถุชน ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ถ้ามีผู้วิจารณ์ว่า
กษัตริย์ทำสิ่งผิดพลาด ก็น่าจะรับฟังไว้ แต่ถ้ากษัตริย์ไม่ฟัง ก็อาจเกิดปัญหา และ
ยุ่งยากก็จะตามมา

ราชธรรม 10 หรือ ทศพิธราชธรรม

คุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่
โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข

1. ทาน คือการบริจาคให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ด้วยการสละทรัพย์สิ่งของ
เพื่อช่วยผู้และเดือดร้อนและอ่อนแอ ไม่สร้างความร่ำรวยโดยใช้ตำแหน่งของ
ตนเอง

2. ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ ประพฤติตน
ให้เป็นแบบอย่างที่ดีงามกับประชาชน

3. บริจาค คือการเสียสละความสุขส่วนตัว การแบ่งปันทรัพย์สินนอกกายให้เป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวม สละได้แม้กระทั่งชีวิตถ้าจำเป็น

4. อาชชวะ คือความซื่อตรงและความจริงใจ ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริตโดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด

5. มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพทั้ง กาย วาจา ใจ ในทุกสถานการณ์ ไม่แข็ง
กระด้างไม่แสดงการยกตนข่มท่าน

6. ตบะ คือความเพียรพยายาม ทำสิ่งที่ควรทำ มีความสม่ำเสมอ ปฏิบัติหน้าที่อย่าง
ไม่บกพร่อง มีจิตใจที่หนักแน่น ไม่ย่อท้อ

7. อโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตใจเมตตา มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และให้อภัย
มีความเยือกเย็น

8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม สนับสนุนสันติภาพ
และหลีกเลี่ยงสงคราม

9. ขันติ คือความอดทนอดกลั้น ต่อความยากลำบาก ไม่หวั่นไหว ท้อแท้ใจ

10. อวิโรธนะ คืดการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นอยู่ในธรรมโดยไม่มีความหวั่นไหว
มีความอ่อนโยนและเที่ยงธรรม

และสิ่งเหล่านี้คือที่มาของดนตรีแห่งราชันย์
สำหรับข้อมูลและบทเพลงเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม
http://kanchanapisek.or.th/royal-music/index.en.html

Send Us Your Comments
About This Article

©2006 Janine Yasovant
©2006 Publication Scene4 Magazine

จานีน ยโสวันต์ เป็นอาจารย์และนักเขียน ได้รับปริญญาตรีทางจิตวิทยา และปริญญาโทการบริหารภาครัฐ และยังเป็นผู้อำนวยการของICECA ทำงานทางด้านสื่อศิลปะต่างๆ เธอมีความเห็นว่า จิตใจที่เงียบสงบทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้
For more of her commentary and articles, check the
Archives

 

 

 

january 2006

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Qreviews | Letters | Links Subscribe | Privacy | About Us | Terms | Contact | Advertising | Archives
EMAIL THIS PAGE • SEARCH THIS ISSUE

© 2000-2006 Scene4 – International Magazine of Performing Arts and Media – AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. Reproduction in whole or in part without permission is prohibited.