เธอได้รับการขนานนามว่าเป็นนักเขียนยอดนิยมมากที่สุดตลอดกาล ผลงาน เขียนของเธอถูกแปลมากว่า 100 ภาษา แม้ว่าเธอจะเสียชีวิตไปมากกว่า 30 ปีมาแล้ว นักอ่านหลายท่านรวมทั้งดิฉันที่รักการอ่านนิยายลึกลับนั้นหวังให้ เธอมีชีวิตยืนยาวมากกว่านี้
ในโรงเรียนไทยหลายแห่ง หนังสือนิยายของเธอหลายเรื่องเป็นหนังสือ แนะนำสำหรับนักเรียนมัธยมต้น แต่ในโลกแห่งการพิมพ์ของไทยยังมีความ ลึกลับและความพิศวงมาอย่างต่อเนื่อง
มีนักแปลมากกว่า 20 ท่านและหลายสำนักพิมพ์ที่ทำการพิมพ์หนังสือของ อกาธาคริสตี้ในประเทศไทย นี่มิใช่เป็นการนั่งรถเดินทางฟรีแน่นอน สำนักพิมพ์จากประเทศอังกฤษที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือและสำนักพิมพ์ เรือสัมปั้นที่ได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ทำการฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธิ์ ผ่านทางศาลไทยต่อสำนักพิมพ์น้องใหม่ในเครือบริษัทสำนักพิมพ์ สร้างสรรค์วิชาการ คดีนี้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 9 ปี
การต่อสู้คดีในชั้นศาลในเรื่องลิขสิทธ์การแปลและจัดพิมพ์นั้นน่าสนใจอย่าง ยิ่ง โจทก์เป็นสำนักพิมพ์ใหญ่และจำเลยเป็นสำนักพิมพ์ที่เล็กกว่า ในปีพ.ศ. 2539 ตัวแทนจากสำนักพิมพ์เรือสัมปั้นและบริษัทที่ถือลิขสิทธ์งานของ อกาธาคริสตี้ได้จ้างวานให้ทนายฟ้องร้องสำนักพิมพ์น้องใหม่ในข้อหา ละเมิดลิขสิทธ์ต่างประเทศโดยการตีพิมพ์และจำหน่ายนวนิยายแปลของ อกาธาคริสตี้ต่อสาธารณชน สำนักพิมพ์เรือสัมปั้นที่ได้รับลิขสิทธิ์ให้ จัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยได้เรียกเงินค่าเสียหายเป็นจำนวน 35 ล้านบาทจากจำเลย
ฝ่ายจำเลยเชื่อว่าพวกตนไม่ได้กระทำความผิดและและจะต่อสู้จนสิ้นสุดคดี โจทก์และจำเลยมีคดีความกันหลายครั้ง ทนายความส่งคำสั่งศาลให้ระงับ การจัดจำหน่ายหนังสือและได้ทำการยึดหนังสือ 4,727 เล่มจาก 28 เรื่อง
ในเดือนตุลาคม 2548 ศาลได้สั่งยกฟ้องคดีและตัดสินว่าจำเลยไม่ได้ละเมิด ลิขสิทธิ์ นักแปลมีสิทธิ์ในการแปลและจัดจำหน่ายโดยไม่ต้องขออนุญาต จากโจทก์ และข้อเท็จจริงนั้นระบุว่าจำเลยไม่ทราบว่าการแปลนั้นได้ละเมิด ลิขสิทธิ์และไม่ได้ตั้งใจที่จะละเมิดกฏหมาย กว่าที่พวกเขาจะมาถึงข้อสรุป ตรงนี้ก็เป็นปริศนาประการหนึ่ง
8 คดีความที่ใช้เวลาเกือบ 10 ปีกว่าจะจบสิ้นนั้นมาจากพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ปีพ.ศ 2537 และพระราชกฤษฎีกาที่ได้ตั้งเงื่อนไขการป้องกัน ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ มีข้อกำหนดในพระราช กฤษฎีกาฉบับนั้นว่า วรรณกรรมหรือนาฏกรรมต่างประเทศใดๆก็ตาม ถ้า เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ได้จัดทำการแปลและโฆษณาภายใน 10 ปีหลังจากที่วัน สุดท้ายที่ได้โฆษณาเป็นครั้งแรกแล้ว ลิขสิทธิ์ในการผลิต ดัดแปลง และ โฆษณาในประเทศไทยก็จะสิ้นสุดลง นี่เป็นปริศนาอีกประการหนึ่งและก็ เป็นประโยชน์กับคนบางกลุ่มด้วยเช่นกัน
การแปลครั้งแรกของหนังสืออกาธาคริสตี้โดยสำนักพิมพ์น้องใหม่นั้น เกิดขึ้นก่อนการประกาศใช้กฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปีพ.ศ 2537 มี การกล่าวถึงวัสดุมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองศิลปะและ วรรณกรรมปีพ.ศ. 2474 และ 2521 นี่นับเป็นตัวแปรสำคัญที่จะขัดขวาง ไม่ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ชนะคดีความเพราะโจทก์ไม่ได้ตีพิมพ์และโฆษณา หนังสือของอกาธาคริสตี้เป็นเวลา 30 ปี พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปีพ.ศ. 2537 ได้กระตุ้นให้ทุกสำนักพิมพ์ไม่ให้ถือลิขสิทธิ์จากต่างประเทศนานเกิน ควรโดยที่ไม่ได้ทำการแปล โฆษณา และจัดจำหน่ายให้กับประชาชน มิฉะนั้นแล้วนักแปลจะไม่สามารถแปลและจัดพิมพ์หนังสือให้กับชาวไทย เพราะจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดั้งเดิม นี่ไม่เป็นประโยชน์ต่อนักอ่านชาว ไทยเพราะพวกเขาชอบอ่านหนังสือที่ชอบเป็นภาษาไทย
นี่เป็นกรณีศึกษาสำหรับสำนักพิมพ์และประชาชนชาวไทย เป็นการเปิดเผย ความลึกลับของการขัดแย้งเรื่องลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและใน หลายๆ ประเทศ มิสมาร์เปิลกับแฮร์คูลล์ปัวโรต์อยู่ที่ไหนในตอนที่เรา ต้องการพวกเขา อ้า... อยู่ที่กลางถนนในกรุงเทพนั่นเอง!
นี่เป็นชีวประวัติสั้นๆถ้าคุณยังไม่เคยพบความสุขใจเมื่อได้พบกับเธอ
อกาธาคริสตี้ (15 กันยายน 2433 – 12 มกราคม 2519)
เธอมีชื่อเดิมว่า อกาธามิลเลอร์ เกิดที่เมืองทอคีย์(Torquay) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2433 เป็นบุตรสาวของเฟรเดอริคอัลวา มิลเลอร์ และคลาริสซา มิลเลอร์ พ่อของเธอเสียชีวิตตอนเธอยังเด็ก อกาธาได้รับการศึกษาในบ้าน แม่ของเธอได้กระตุ้นให้เธอเขียนหนังสือตั้งแต่เด็ก เมื่อเธออายุได้ 16 ปี เธอถูกส่งไปศึกษาเรื่องการร้องเพลงและเล่นเปียโนที่โรงเรียนในปารีส ในปี พ.ศ. 2457 เธอได้แต่งงานกับผู้พันอาร์ชิบาวด์คริสตี้ นักบินของ กองทัพอากาศ ทั้งคู่มีลูกสาวหนึ่งคนชื่อว่า โรสลิน ก่อนที่ทั้งคู่จะหย่าร้าง กันในปี พ.ศ. 2471 เพราะอาร์ชิบาวด์คริสตี้ประกาศว่าเขาตกหลุมรักหญิง สาวอายุน้อยกว่าที่ชื่อว่า แนนซี่ นีล ในปีเดียวกันนั้นเอง มารดาสุดที่รัก ของอกาธาคริสตี้ก็ได้เสียชีวิตไป เรื่องราวชีวิตจริงอันน่าพิศวงของ อกาธาคริสตี้ในปี พ.ศ. 2469 เมื่อเธอหายตัวไประยะหนึ่งและพักอาศันใน โรงแรมฮาร์โรว์เกทโดยใช้ชื่อปลอมว่ามิสซิสนีล นี่เป็นฉากพื้นฐานของ ภาพยนตร์เรื่อง Agatha
อกาธาคริสตี้ทำงานเป็นพยาบาลในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เธอได้เรียน การใช้ยาต่างๆ รวมไปถึงยาพิษ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างภาพลักษณ์ในอาชีพการ เขียนของเธออย่างมาก ภายหลังสงครามเพื่อทำให้ตัวเองไม่ว่างในตอน กลางวัน เธอจึงหันไปเขียนนวนิยายและนิยายนักสืบเรื่องแรกที่มีชื่อว่า The Mysterious Affair at Styles ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก เรื่องนี้เป็น การแนะนำแฮร์คูลล์ปัวโรต์ หนึ่งในตัวละครในเรื่องแต่งที่เป็นที่นิยมสูงสุด ตลอดกาล นักสืบชาวเบลเยี่ยมจอมเพี้ยนผู้เอาชนะอาชญากรจอมเจ้าเล่ห์ ในนวนิยาย 33 เรื่องและเรื่องสั้นอื่นๆ เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง Curtain ปีพ.ศ. 2518 นักสืบอีกท่านหนึ่ง ที่เฉียบแหลมและอยากรู้อยากเห็นอีกคนหนึ่งคือ หญิงชราชาวอังกฤษนามมิสเจนมาร์เปิล เมื่อปัวโรต์ใช้ตรรกะและความมี เหตุมีผล มาร์เปิลก็ใช้สัญชาติญาณและความหยั่งรู้ล่วงหน้าเข้าคลี่คลายคดี
มาร์เปิลมีบทบาทในนวนิยาย 12 เรื่อง เรื่องแรกคือ Murder At The Vicarageปีพ.ศ. 2473 และเรื่องสุดท้ายคือSleeping Murderปีพ.ศ. 2520 ทั้งปัวโรต์และมาร์เปิลถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ หลายครั้ง
อกาธาคริสตี้ยังได้เขียนนวนิยายแนวโรแมนติกอีก 6 เรื่องโดยใช้ นามปากกาว่า Mary Westmacottเธอเขียนสารคดีหลายเล่มด้วยกัน มีทั้ง อัตชีวประวัติ และการสำรวจทางโบราณคดีที่เธอทำงานร่วมกันกับสามีคนที่ สอง เซอร์แมกซ์มาลโลแวน ในปี พ.ศ. 2510 อกาธาคริสตี้เป็นประธาน ของชมรมนักสืบอังกฤษ และในปีพ.ศ. 2514 เธอได้รับเกียรติยศสูงสุดของ ประเทศเมื่อเธอได้รับตำแหน่งผู้บังคับการหญิง (Order of Dame Commander) จากราชวงศ์อังกฤษ
อกาธาคริสตี้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2519 มีงานวรรณกรรมมากกว่า 100 ชิ้นและถูกนำไปแปลมากว่า 103 ภาษา จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต อกาธาคริสตี้เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษที่ขายดีที่สุดตลอดกาล
|