“ข้าพเจ้าเดินอยู่บนเส้นทางนี้มายาวนาน ชีวิตและวันเวลาที่ผ่านไป พบว่าการ ทำงานศิลปะให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีพื้นฐานจากความจริงใจบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง และ ค่าของคนคือผลของงาน และมีคุณค่ามหาศาลตลอดไป” — กมล ทัศนาญชลี
เมื่อไม่นานมานี้ดิฉันมีนัดหมายสัมภาษณ์อาจารย์กมล ทัศนาญชลี ตอนที่พบกัน ท่านบอกกับดิฉันว่าท่านได้เดินทางกลับมาจากสหรัฐอเมริกาหลายครั้งกับ ครอบครัวเพื่อมาเข้าร่วมงานนิทรรศการศิลปะ เวิร์คช็อป และในโอกาสพิเศษที่
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย เป็นเวลามากกว่า 8 ปีแล้วที่ดิฉันได้ ติดตามงานนิทรรศการของท่านในประเทศไทย และความปรารถนาของดิฉันก็คือ ได้สัมภาษณ์ท่านอาจารย์กมลสักครั้งหนึ่ง
อาจารย์กมล ทัศนาญชลีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ใน ปีพ.ศ. 2540 ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัญฑิตกิติมศักดิ์ 14 ใบจากมหาวิทยาลัย หลายแห่งในประเทศไทย
จากการศึกษาค้นคว้ามาทั้งหมด ดิฉันจึงได้ข้อสรุปว่าอาจารย์กมลเป็นหนึ่งใน ศิลปินที่เป็นที่เคารพนับถือและมีวิสัยทัศน์ในประเทศไทย ท่านให้การต้อนรับและ ดูแลครูศิลปะและศิลปินรุ่นใหม่ที่ได้รับเลือกให้ไปทัศนศึกษาดูงานที่สหรัฐอเมริกา กลุ่มศิลปินที่ได้พบกับท่านต่างประทับใจในความเป็นกันเองของท่าน ในปีพ.ศ.
2561 อาจารย์กมลกลับมาพร้อมกับผลงานที่มีชื่อว่า “Two visions of the wonderland” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของงานThailand Biennale Krabi 2018
“ข้าพเจ้ายังคงซื่อตรงต่อรากเหง้าความเป็นไทย ต่อสู้ดิ้นรนอยู่บนเส้นทางสายเดิม พอใจในชีวิตที่เป็นศิลปินอิสระ”
อาจารย์กมล ทัศนาญชลีมีผลงานที่โดดเด่นในสหรัฐอเมริกาเช่นการสาดสีที่ ทะเลทรายโมฮาเว่ ท่านยังสนับสนุนครูศิลปะและศิลปินรุ่นเยาว์ให้ทำงานเวิร์คช็อป ในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
อาจารย์กมลใช้เวลามากกว่า 16 ปีกับโครงการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ด้าน ศิลปะให้กับศิลปินรุ่นเยาว์ทั่วประเทศไทย เริ่มด้วยการร่วมมือกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรมคนแรกมาจนถึงคนปัจจุบัน สำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย และสภาศิลปะไทยสหรัฐอเมริกา
อาจารย์กมลพาศิลปินไปยังแกรนด์ แคนยอนหลายร้อยครั้งและสร้างความ ประหลาดใจให้กับศิลปินที่ไปพบท่านในสหรัฐอเมริกา โครงการ Young Artist Talent ครั้งที่ 9 ประจำปีพ.ศ. 2561 เป็นการทัศนศึกษาดูงานเยี่ยมชมMuseum of Contemporary Native Arts และ Canyon Road Contemporary Art ที่ตั้งอยู่ บนถนนที่มีห้องแสดงงานศิลปะเกือบถึง 200 แห่ง และยังมีกิจกรรมเวิร์คช็อป และ
การฟังบรรยายเกี่ยวกับศิลปะ
จากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานประติมากรรมที่มีชื่อว่า“Two visions of the wonderland” ดิฉันพบว่าผลงานชิ้นนี้น่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่ เหมาะสมสำหรับงาน Thailand Biennale Krabi 2018
กมล: งานประติมากรรมชิ้นนี้ผมสร้างขึ้นที่เขาขนาบน้ำ จังหวัดกระบี่ เป็นงานที่ได้ ตำแหน่งที่ดีมากกว่าไปอยู่ในที่อุทยานหรือตามชายหาดที่จะเป็นงานชั่วคราว 4 เดือน ผมจึงใช้วัสดุที่คงทนถาวร สแตนเลสไร้สนิมที่จะอยู่คู่กับกระบี่ตลอดไปปาก
แม่น้ำกระบี่มีน้ำไฟฟ้าพร้อม จึงได้ออกแบบงานประติมากรรมที่ดูได้ทั้งกลางวันและ กลางคืน มาเป็นแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ต่างกับอยู่อุทยานหรือสถานที่ๆ ไม่ คล่องต้วในการทำงาน ต้องขอบคุณท่านนายกเทศมนตรีกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วนที่หา พื้นที่ได้งดงามมาก
แนวคิดคือการมองกระบี่ที่เป็นธรรมชาติสวยงามด้วยตาเปล่าอันเป็นโจทย์ที่สำคัญ จึงใช้“แว่นขยาย”เป็นสัญลักษณ์มองในแง่มุมมองของจริงและจินตนาการ แอบ แฝงไปด้วยจินตนาการเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถมองเห็นใต้น้ำ ใช้จอ LED ฉายรูปฝูง ปลาและสถานที่สำคัญของกระบี่ตามเกาะต่างๆ การมองเห็นอีกอย่างหนึ่งคือการ
ใช้กล้องส่องทางไกลขนาดเกือบสามเมตรมองภาพเขาขนาบน้ำที่เป็นถิ่นอาศัย ตามธรรมชาติของนกอินทรีหัวขาวที่ยังคงดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ยังมีอีกหลาย แง่มุมมองจินตนาการที่สะท้อนธรรมชาติรอบด้านทุกแง่มุมและสะท้อนตัวเองด้วย เราจะเห็นเงาสะท้อนของตนเองตามที่ติดกระจกโค้งตามจุดต่างๆ และนี่คือ จินตนาการในอีกมุมมองหนึ่ง
งานชิ้นนี้มีครบทั้งรูปแสงสีเสียงจากจอLED วิดีโอคลิบที่ฝังอยู่ในฐานงาน ประติมากรรมจึงเป็นมุมมองจริงเหนือจริงจากการมองกระบี่สุดขอบฟ้า ตามหัวข้อที่ ได้ตั้งไว้ ที่สำคัญเสร็จเป็นชิ้นแรกในโครงการและอยู่ถาวรคู่กระบี่ตลอดไป ผมได้ คำนึงถึงคำว่าฝนแปดแดดสี่ ตระหนักดีว่ากระบี่มีฝนอยู่แปดเดือนมีลมพายุ จึง
เลือกใช้วัสดุที่คงทนโดยไม่ต้องมาซ่อมในภายหลัง
จานีน: อยากทราบเรื่องของการศึกษาของอาจารย์ในไทยและต่างประเทศ
กมล: ผมจบจากโรงเรียนเพาะช่างในปีพ.ศ. 2507 หลังจากนั้นผมไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปีพ.ศ. 2512 ผมย้ายจาก มหาวิทยาลัยในประเทศไทยและได้รับทุนการศึกษาจากOtis Art Institute of Los Angeles รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา โทในปีพ.ศ. 2520 ในสหรัฐอเมริกาหลังจากนั้นผมไปเป็นอาจารย์สอนศิลปะที่
LamarUniversityเมืองโบมองต์ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกาในปี 2520 และที่ University of Californiaเมืองเบิร์กเลย์รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริการะหว่างปี พ.ศ. 2522 -2524
จานีน: อาจารย์ใช้เวลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ เป็นไปได้หรือไม่ที่สไตล์ งานศิลปะแบบตะวันตกจะมีอิทธิพลอย่างสิ้นเชิงต่อวิธีการทำงานศิลปะของอาจารย์
กมล: ผมคิดว่าสิ่งนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าผมจะใช้เวลาของชีวิตมากกว่า 45 ปี อาศัยอยู่ต่างประเทศ งานของผมส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมไทย และศาสนาพุทธเช่นหนังตะลุงซึ่งเป็นความบันเทิงทางวัฒนธรรม ธาตุทั้งสี่ดิน ลม น้ำ ไฟเป็นเรื่องราวของว่าวไทยหลายชนิดที่ใช้ในการแข่งขัน
จานีน: อาจารย์อยากเล่าเรื่องอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับชีวิตของอาจารย์อีกบ้างคะ
กมล: ตอนที่ผมมีอายุประมาณ 27 -28 ปีสำนักข่าว USIA มาหาผมเพื่อขอถ่ายทำ การสัมภาษณ์เป็นวิดีโอและนิตยสาร Freedom Magazine ติดต่อผมเพื่อตีพิมพ์บท สัมภาษณ์เกี่ยวกับชีวิตของผม
46 ปีที่แล้วผมอัญเชิญธงชาติไทยไปยังสหรัฐอเมริกาเนื่องมาจากความสำเร็จของ ผมในฐานะที่เป็นศิลปิน นั่นเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของผมDe Young MuseumและPalace of Legion เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียซื้อผลงาน ศิลปะร่วมสมัยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตอนนั้นผมเป็นอาจารย์อยู่ที่เบิร์กเลย์
จานีน: อยากให้อาจารย์พูดถึงที่มาโครงการสนับสนุนครูศิลปะและศิลปินรุ่นเยาว์ที่ อาจารย์ดูแลอยู่
กมล: ต้นไม้ร้อยอ้อมเป็นโครงการสำคัญที่เราต้องเพาะเมล็ดพันธุ์ศิลป์ของประเทศ ให้งอกงามต่อไปจึงเป็นที่มาของโครงการนี้ เราเริ่มจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์เป็นหัวหอก ตั้งแต่ครั้งแรกเช่น อ.ถวัลย์ ดัชนี อ.ประหยัด พงษ์ดำ ครั้งแรกจัดขึ้นที่
มหาวิทยาลัยราชภัฎ จังหวัดเชียงราย ได้รับความสนใจจากครู อาจารย์ นักเรียนชั้น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษามาจากจังหวัดใกล้เคียงและทั่วประเทศ โครงการทั้งหมดใช้เวลาสองวัน จำนวนของผู้เข้าร่วมมากกว่า 2,000 คนต่อวันจึง ต้องย้ายจากเต้นท์ขนาดใหญ่ 4 เต้นท์มาเป็นหอประชุมใหญ่ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ
อุปกรณ์ไม่เพียงพอแต่นักเรียนส่วนใหญ่ก็เตรียมอุปกรณ์มาเองด้วยกิจกรรมจึง ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย เนื่องมาจากความนิยมจึงทำให้มีการจัดโครงการ 4 ครั้ง ในแต่ละปี สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปยังภาคเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และภาคกลาง
|
จากทัศนศิลป์ก็จะมีวรรณศิลป์เพิ่มขึ้นและในที่สุดก็มีศิลปะการแสดงครบทั้ง 3 สาขาหลัก เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ ปรัชญา ความคิดโดยตรง ของศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขาไปยังศิลปินรุ่นใหม่ และแบ่งเป็นฐานความรู้ได้ 10 ถึง 11 ฐานให้นักเรียนเข้าร่วม ศิลปินแห่งชาติจากภาคกลางมาเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
บางครั้งก็มีศิลปินแห่งชาติ 15 – 22 ท่านจากสาขาต่างๆ เช่นจิตรกรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม การถ่ายภาพ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม บทกวี และเรื่องสั้น ศิลปะการแสดงก็แล้วแต่ภูมิภาค ศิลปะพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้านเช่นกลองสะบัดชัย การเป่าขลุ่ยไทย การร้องเพลงพื้นบ้านและร้องเพลงลูกทุ่ง
หลังจากที่เราจัดการเรื่องการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ศิลปินใหม่แล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะ หาเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนที่ยังอยู่ในโคลนตม หลังจากที่เราพบเพชรเหล่านี้แล้ว จึงเจียระไนให้เป็นอัญมณีที่สวยงามต่อไป กล่าวง่ายๆก็คือเราสนับสนุนศิลปินรุ่น
ใหม่ที่มีพรสวรรค์ให้มีความมั่นใจและมีทักษะในทางของตนเอง สำหรับโครงการนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยหลายร้อยคนจากทั่วประเทศสมัครเข้ามาอยู่ในค่ายนี้ ตอน แรก 70คนจากทั่วภูมิภาคถูกเลือกเข้ามาและต้องทำการผ่านด่านต่างๆ ในท้าย ที่สุดคัดเหลือนักศึกษาเพียง 10 – 11 คนที่ได้รับเลือกเดินทางไปสหรัฐอเมริกา
เพื่อแสดงผลงาน ไปทัศนศึกษาดูงาน ทำเวิร์คช็อปและพักอยู่กับผมเป็นเวลาสอง สัปดาห์ ในช่วงเวลานี้ผมจะพาไปชมแกลเลอรี่งานศิลปะที่มีชื่อเสียง ไปพบปะ พูดคุยกับศิลปินมืออาชีพและเยี่ยมชมคณะศิลปะของมหาวิทยาลัยต่างๆ
|