สำหรับของขวัญปีใหม่นี้ดิฉันมีบทสัมภาษณ์กับประติมากรผู้มีความรักในการทำงาน ศาสตราจารย์พีระพงษ์ ดวงแก้ว ดิฉันอยากจะบอกว่าท่านเป็นบุคคลตัวอย่างของ สุภาพบุรุษไทยที่มีความฝัน ใช้ความพยายามและแรงบันดาลใจของตนเองในการ
ทำให้สำเร็จ ผลงานแกะสลักไม้และก้อนหินหลายชิ้นได้จัดแสดงไว้ในหลายๆ ที่ ศาสตราจารย์พีระพงษ์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดอุบลราชธานี
ศาสตราจารย์พีระพงษ์ ดวงแก้ว เป็นประติมากรที่มีงานนิทรรศการศิลปะครั้งแรกใน ปีพ.ศ. 2524 ตอนที่มีอายุ 30 ปี งานนิทรรศการครั้งนั้นถูกเรียกว่า งานนิทรรศการ ศิลปะกลุ่มล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2524 ตลอดระยะเวลา 37 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2524 – 2560 ท่านได้เข้าร่วมงานนิทรรศการกว่า 81 ครั้ง
งานนิทรรศการครั้งต่อไปในปีใหม่นี้พ.ศ. 2561
การสร้างสรรค์ผมงานประติมากรรมชุด
ชื่อ: ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIODIVERSITY) โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2560 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 9.00 น. – 16.00 น. (หยุดวันจันทร์,อังคารและวันนักขัตฤกษ์) สถานที่:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลปะถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: อยากให้อาจารย์พูดถึงเรื่องความมุ่งมั่นในการเป็นศิลปิน
พีระพงษ์: ความมุ่งมั่นส่วนตัวในการที่จะเป็นศิลปินเกิดขึ้นมาตั้งแต่วัยเด็ก ชอบวาด รูปและงานแกะสลักมาตั้งแต่เรียนชั้นประถม ซึ่งมักจะทำคะแนนวิชาศิลปะได้ดี เป็นที่ชื่นชมของเพื่อนๆร่วมชั้นเรียนและได้เข้าร่วมส่งผลงานศิลปะประกวดในงาน
ประกวดศิลปะของจังหวัด ได้รับรางวัลมาบ่อย ทำให้ตัวเองมีกำลังใจและผลักดัน ให้ทำงานอย่างต่อเนี่องตลอดมาเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัด อุบลราชธานีแล้วคิดอยากจะเรียนต่อทางสถาบันสอนศิลปะโดยตรงที่กรุงเทพจึง เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง สาขาวิจิตรศิลป เรียน 3 ปีจบและเข้า
ศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่สถาบันแห่งนี้ ได้ปูพื้นฐานความรู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เข้มข้น และสาขาวิชาที่ชอบเรียนมาก คือ สาขาวิชาประติมากรรม
จานีน: ในความเห็นของอาจารย์ อะไรคือเสน่ห์ของประติมากรรม
พีระพงษ์: เส่น่ห์ของงานสร้างสรรค์ทางด้านงานประติมากรรมนั้นสามารถสำผัสได้ 3 มิติ รับรู้ถึงความหนักแน่น กว้าง ลึก หนา เป็นรูปทรง ต่างๆ ทั้งศิลปะแนวเหมือน จริง หรือ แนวนามธรรม เมื่อได้เรียนและสร้างสรรค์ผลงานในด้านประติมากรรมที่
ตัวเองรักแล้วทำให้มีความสุขมาก ถึงแม้ว่าเป็นงานหนักและเหนื่อยมากกว่าเรียน สาขาอื่นแต่ไม่เคยคิดท้อถอย จึงทุ่มเทการทำงานด้วยจิตใจที่ รักและศรัทธา ใน งานอย่าง เต็มที่ แนวความคิดในการทำงานด้านประติมากรรมนั้น ได้พัฒนา ต่อเนื่องมาตลอด โดยทำงานทั้งแนวเหมือนจริง และ แนวนามธรรม
จานีน: อะไรคือเทคนิคและวัสดุที่อาจารย์ชอบใช้ในงานประติมากรรม
พีระพงษ์: เทคนิค วัสดุที่ชอบ และถนัดมากที่สุด คือ เทคนิคแกะสลักไม้และหิน และผสมผสานกับวัสดุอื่นๆให้มีความหลากหลายอย่างสนุกสนาน ความพิเศษของ เทคนิคแกะสลักคือมีความ เด็ดขาด มั่นใจ คิดไตร่ตรองก่อนเป็นอย่างดีจึงลงมือ แกะเอาเนื้อวัสดุออกให้เป็นรูปทรงที่เราคิดหรือต้องการเห็น เมื่อตัดสินใจแกะออก
แล้ว จะนำกลับมาต่อใหม่อีกไม่ได้ ดังนั้นประติมากรที่ทำงานแกะสลักจึงมักจะมี ความชัดเจนเด็ดขาดมั่นใจสูงในความคิดและการกระทำของตนเอง ศิลปินที่ชื่นชม มากคือ ไมเคิลแองเจโล (ประติมากรชาวอิตาลี) คอนสแตนติน บรันคูชี่ (ประติมา กรชาวโรมาเนีย) และเฮนรี่ มัวร์ (ประติมากรชาวอังกฤษ)
จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าถึงผลงานที่เคยทำตลอดหลายปีที่ผ่านมา
|
พีระพงษ์: ผมได้มี ประสบการณ์ต่างๆ ในการทำงานและฝากผลงานประติมากรรม ไว้ในประเทศต่างๆ หลายประเทศ ทั้งในอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย เม็กซิโก อินเดียไทย เวียดนาม มาเลเซีย ในการไปทำงานต่างประเทศด้วยเทคนิคแกะสลัก หินและไม้ มีเวลาที่จำกัด เช่น 10 วัน 15 วัน หรือ 1เดือน และวัสดุหินแกรนิตหรือ
หินอ่อนนั้นมีน้ำหนัก3ตันขึ้นไป รู้สึกเป็นงานที่ท้าทาย และ กดดันตัวเองมาก กลัว ว่าจะทำงานไม่เสร็จทันตามระยะเวลาที่เขากำหนดไว้ ดังนั้นจึงต้องวางแผนการ ทำงานอย่างเป็นระบบละเอียดชัดเจน เช่นมีกำลังใจกำลังกายและสุขภาพที่ดี และ ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานมาก จึงจะแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้น
ในขณะทำงานได้เป็นอย่างดีผนวกกับความคิด จินตนาการและทักษะต่างๆต้อง นำมาใช้ประกอบกันอย่างสุดความสามารถเมื่อเราอยู่ต่อหน้าก้อนหินหรือท่อนไม้ที่ เราจะทำงานเราต้องพินิจพิจารณาก้อนหินหรือท่อนไม้นั้นอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน ว่า วัสดุนั้นมีลักษณะพิเศษอย่างไรและเราจะจัดการเขาให้เป็นรูปร่างตามที่เราต้องการ
ได้อย่างไร ซึ่งเราเรียกว่านั่ง “พูดกับก้อนหิน’’ เสียก่อน เมื่อได้เข้าใจเขาดีแล้วจึง ตัดสินใจลงมือทำขณะที่ทำงานนั้น ต้องมี่สมาธินิ่งและยาวนาน เพราะงานแกะสลัก เป็นงานที่หนักและกินเวลานาน กว่าจะเห็นเป็นรูปร่างที่สำเร็จ ออกมาเมื่อผลงาน เสร็จสมบูรณ์แล้วจึงนำผลงานออกไปติดตั้งในสถานที่ชมชนหรือประดับตกแต่ง
อาคารให้ดูสง่างามตลอดไป ผลงานประติมากรรมกลางแจ้งมักจะสร้างด้วยวัสดุที่ ถาวร คงทน ยาวนานเช่นหินหรือสัมฤทธิ์
จานีน: มีอะไรอีกที่อาจารย์อยากบอกเล่าให้ฟัง
พีระพงษ์: มีความมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ด้วยความ รักและศรัทธาในความดีงามของศิลปะเพื่อพัฒนาจิตใจตัวเองและสังคมให้งดงาม สูงส่งด้วยความบริสุทธ์ใจโดยไม่มุ่งหวังในชื่อเสียง และเงินทอง ชีวิตปัจจุบันได้
ทุ่มเทให้กับการทำงานศิลปะอย่างเต็มที่ ทำงานทุกวันอย่างมีความสุข และได้ไป ช่วยสอนการสร้างสรรค์งานประติมากรรมให้แก่นิสิตบ้าง ในบางโอกาสที่อำนวย กระผม มีแผนงานที่จะนำผลงานประติมากรรมชุด ”ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ออกเผยแพร่สู่สาธารณะชนอีกครั้งในเดือน กุมภาพันธ์ 2561 ที่หอ
ศิลปะแห่งชาติเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานครจึงเรียนเชิญท่านผู้ที่สนใจเข้าชมและพุดคุย กับศิลปินได้ในช่วงระยะเวลานี้
งานนิทรรศการต่างๆ ใน 6 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555-2560)
2555: -นิทรรศการ Confluence of 9 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพ - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยจากคณาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ ประจำปี พ.ศ. 2555 - เทศกาลศิลปะนานาชาติครั้งที่ 8 วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพ
2556: -เทศกาลศิลปะนานาชาติครั้งที่ 9 วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพ - งานนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยโจมอน เมืองฟุนาบาชิ ประเทศญี่ปุ่น
2557: -นิทรรศการเดี่ยว “Diversity: Form and Spirit”หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพ - นิทรรศการแลกเปลี่ยนระหว่างคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ANU School of Art “Chat” วันที่ 4 เมษายน – 3 พฤษภาคม ที่ ANU School of Art Gallery ประเทศออสเตรเลีย
- งานศิลปะนานาชาติ คณะจิตรกรรมและสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
2558: - นิทรรศการแลกเปลี่ยน“Chat 2 : Exchange 2015 Exhibition of Art” ระหว่าง ANU School of Art และคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 15 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ที่หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นิทรรศการศิลปะ 71 ปี กมล ทัศนาญชลี และเพื่อนๆ 6 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน - เทสกาลศิลปะอันดามัน งานนิทรรศการศิลปะนานาชาติ ที่หอศิลป์อันดา มันและศูนย์วัฒนธรรมอันดามัน จังหวัดกระบี่
- งานนิทรรศการแลกเปลี่ยนและเวิร์คช็อป เมียนมาร์ - ไทย และเพื่อน ศิลปิน - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยจากคณาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ประจำปี 2558
2559: - นิทรรศการศิลปะ “CHIANG MAI BREEZ” กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น - งานนิทรรศการศิลปะนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยจากคณาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ประจำปี 2559
2560: - งานศิลปะนิพนธ์ ศิลปินไทยและศิลปินออดเตรเลียร่วมสมัยและ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย และAustralian National University ประเทศออสเตรเลีย - งานเวิร์คช็อปศิลปะWorkshop Hanoi March Connecting 2 กรุง ฮานอย ประเทศเวียตนาม - งานนิทรรศการทัศนศิลป์ พ.ศ. 2560 คณะจิตรกรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่หอนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 8 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560
|