ดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้เขียนเกี่ยวกับอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤตและงานนิทรรศการที่ กำลังมาถึงในปีพ.ศ. 2561 ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งอาจารย์เคยกล่าวถึงเหตุผลที่ ท่านได้เรียนจิตรกรรมและประติมากรรมก็เพราะท่านรักศิลปะและประเพณีไทย การ เขียนภาพ การปั้นรูป การแสดงโขน การแสดงหุ่นกระบอก ดนตรีพื้นบ้านไทย ท่าน
ยังมีความสนใจในการรำไทยอีกด้วย ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ความ สนใจของท่านอยู่ที่การทำหุ่นกระบอกและการแสดงหุ่นกระบอกเพราะท่านได้สร้าง และปรับปรุงแก้ไขการทำและวิธีเชิดหุ่นกระบอก นอกเหนือไปจากนี้การปั้น พระพุทธรูปและการเขียนภาพเหมือนก็เป็นความถนัดของท่าน
มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤตก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสงวนและดูแลรักษาศิลปะไทยและ ศาสนาพุทธ มีทีมงานศิลปินคอยบูรณะภาพเขียนฝาผนังในวัด ทำรูปปั้นสำริด ซ่อมแซมตู้หนังสือโบราณ เฟอร์นิเจอร์ หุ่นกระบอกและเสื้อผ้าสำหรับหุ่นกระบอก งานนิทรรศการหมุนเวียนจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยศิลปินแห่งชาติ จักรพันธุ์
โปษยกฤติ จะจัดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น. ที่มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต กรุงเทพมหานคร
จักรพันธุ์เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยที่เป็นโรงเรียนเอกชน ด้วยความ ที่เป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ในการเขียนรูปมาก ท่านผู้บังคับการโรงเรียนจึงสนับสนุน การเขียนรูปของจักรพันธุ์อย่างเต็มที่ ครั้งหนึ่งที่จักรพันธุ์อายุเพียง 9 ขวบ ท่านผู้
บังคับการโรงเรียนได้นำพาจักรพันธุ์พร้อมด้วยผลงาน “พระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์” ที่จักรพันธุ์เป็นผู้เขียนขึ้นเข้าเฝ้า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาล ที่ 9
ด้วยพรสวรรค์อันเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปทั้งที่ยังมีอายุไม่มากนี้เองนี้เอง บิดาของ เขาเลยพาไปพบกับท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อ ฝึกฝนและรับการถ่ายทอดวิชาการเขียนภาพเมื่อจักรพันธุ์อายุได้ 16 ปี ต่อมาเมื่อ
เข้าศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร จักรพันธุ์เป็นนักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนดีมา ตลอดการศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่สองจนจบการศึกษาและเป็นที่รักของบรรดาเพื่อนพี่ น้องในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก
นอกเหนือจากทุนเรียนดีแล้ว อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ (ศิลปินแห่งชาติสาขา ทัศนศิลป์ พ.ศ. 2528) ได้ให้คำชมเชยการทดลองโครงสีและองค์ประกอบใน ผลงาน “พรานบุญจับนางมโนราห์” (นางมโนราห์เป็นนางกินรีซึ่งเป็นหนึ่งใน สิ่งมีชีวิตในเทพนิยายไทยโบราณ) ว่าเป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเยี่ยม
นอกเหนือไปจากนี้ จักรพันธุ์ได้รับความสำเร็จในอาชีพตลอดช่วงระยะเวลาหลายปี ที่ผ่านมา ดังจะยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้ เช่น
- รางวัลเหรียญทองแดงจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2508
- รางวัลเหรียญเงินจาการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2508- 2516
- รางวัลผู้สนับสนุนดีเด่นในการอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพ.ศ. 2532
- ศิลปะดุษฎีบัญฑิตกิติมศักดิ์ สาขาประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรพ.ศ. 2537
- ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พ.ศ. 2543
ผลงานบางชิ้นของจักรพันธุ์สามารถพบเห็นได้ในสถานที่หลายแห่งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ดังเช่น
- ออกแบบม่านเวทีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- เป็นผู้รับผิดชอบดูแลซ่อมแซมหุ่นวังหน้าซึ่งเป็นสมบัติของชาติและได้ ทำการค้นคว้ารายละเอียดทุกขั้นตอน พิมพ์เป็นหนังสือหุ่นวังหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2540
- อำนวยการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดตรีทศเทพ กรุงเทพ
- อำนวยการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
ความสามารถของจักรพันธุ์เป็นที่ประจักษ์มาตลอดระยะเวลารวมกว่า 50 ปี นอกจากจักรพันธุ์จะมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพแล้ว ผลงานการประพันธ์ หนังสือก็สามารถเทียบได้กับนักเขียนที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ผลงานหนังสือ “ศศิวิมลท่องเที่ยว” มีผลตอบรับเป็นอย่างดีและได้รับรางวัลหนังสือท่องเที่ยว
เขียนเชิงสารคดียอดเยี่ยม
ปัจจุบันบ้านที่ทำงานของจักรพันธุ์ในซอยเอกมัยได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต เพื่อเป็นแห่งรวบรวมสรรพวิชาเชิงช่างและเป็นสถานที่ที่รวบรวมผลงาน ภาพเขียนของอาจารย์จักรพันธุ์ ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่สามารถศึกษา
ผลงานศิลปะอันยอดเยี่ยมและมีความภูมิใจในการสงวนรักษาสมบัติแห่งชาติให้กับ คนรุ่นหลังสืบไป
ที่ควรนำมากล่าวถึงในที่นี้ก็คือผลงานหุ่นกระบอกของอาจารย์จักรพันธุ์ในชุดที่มีชื่อ ว่าตะเลงพ่ายที่ท่านได้จัดทำขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน หุ่นกระบอกที่ จักรพันธุ์สร้างขึ้นล้วนเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณในความเป็นชาติไทยอย่างแท้จริง
หุ่นกระบอกทุกตัวมีความอ่อนช้อย วิจิตร สร้างขึ้นด้วยการประดับอัญมณีแท้เกือบ ทั้งหมด ยังความตราตรึงใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ได้ชื่นชมเป็นอันมาก หลายท่านที่ได้ชม หุ่นชุดนี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “งามวิเศษหาใดเปรียบ”
ในปีนี้จักรพันธุ์จะมีอายุ 75 ปี (วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561) มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต จึงมีมติเห็นชอบให้ทำการจัดแสดงผลงานเนื่องในวาระพิเศษอันเป็น มงคลยิ่งนี้ โดยการแสดงครั้งนี้จะจัดแสดงในรูปแบบหลากหลาย มีการจัดแสดงทั้ง ผลงานจิตรกรรม ประณีตศิลป์ และผลงานหุ่นกระบอก โดยจะเป็นนิทรรศการ
หมุนเวียนไปตามระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ทั้งนั้นการแสดงผลงานของท่านในวาระ อันพิเศษนี้เชื่อว่าจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชน นักเรียนนักศึกษาและประชาชน ทั่วไปเป็นอย่างมากแน่นอน
จักรพันธุ์เคยกล่าวไว้ว่าเวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว ไม่นาน เราก็แก่ เหมือนที่ ใครๆ พูดกันว่าศิลปะยืนยาวชีวิตสั้น…
สำหรับผมศิลปะและชีวิตยาวเท่ากันคือ ไม่มีวันจบสิ้น
|