ดิฉันเคยเขียนเกี่ยวกับวิหาร วรรณีในวัดเจ็ดยอดที่เป็นหนึ่งในพระอารามหลวง
สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ในตอนที่ดิฉันเป็นอาจารย์พิเศษให้กับนักศึกษาพระที่
เรียนวิชารัฐศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในตอนนั้น
ดิฉันได้สัมภาษณ์อาจารย์และศิลปินท่านหนึ่งคืออาจารย์เกรียงไกร เมืองมูลที่ได้รับ
รางวัลจากการแข่งขันทางศิลปะ7 ปีซ้อนจากหลายๆ องค์กรที่สนับสนุนงานศิลปะใน
ประเทศไทย
ในการพบกันครั้งล่าสุด ดิฉันได้รับคำเชิญจากอาจารย์เกรียงไกรมาอีกครั้งหนึ่งให้มา
พบกันที่วิหาร วรรณีเพื่อสอบถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการหลังจากเวลา
ผ่านไปแล้ว 16 ปี อาจารย์เกรียงไกรเคยกล่าวว่า วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็น
วันแรกที่เขาเข้ามารับทำโครงการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร วรรณีแห่งนี้
เวลานี้ พ.ศ. 2560 ดิฉันรู้สึกกระตือรือร้นอยากวาดภาพอีกครั้งและอยากเห็นงาน
ศิลปะรูปแบบล้านนาที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับ
ดิฉันที่ได้แนวคิดในการปรับปรุงงานเขียนบทความ ของตนเองและได้ทราบเกี่ยวกับ
ความคิดเห็นของอาจารย์เกรียงไกรเกี่ยวกับผลงานในปัจจุบัน ด้วยรายระเอียดที่มาก
กว่าเดิม ในครั้งนี้ดิฉันถ่ายภาพแสดงความก้าวหน้าของภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร
วรรณี ในด้านความสวยงามแล้วดิฉันอยากกล่าวว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดนี้มีความ
สวยงามเทียบได้กับวัดที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่ง
ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: วันนี้เรามาพูดถึงความรู้สึกที่แท้จริงและงานภาพเขียนฝาผนังที่อาจารย์ได้ทำ
ในเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย
เกรียงไกร: เนื่องจากชื่อเสียงที่เพิ่มมากขึ้น ผมเลยมีงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ
มากกว่าเดิม ผมยังรู้สึกสงสัยเกี่ยวกับจำนวนของคนที่รู้จักผมและผลงานของผม
ทำให้ผมรู้สึกเหนื่อยล้าและเบื่อหน่าย ถึงแม้ว่างานของผมจะมีมากมายแต่ผมก็ไม่ได้
รู้สึกดีเลยนะครับ ผมรับรองว่าเงินทองไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตเพราะผมพบว่า
เวลามีความสำคัญมากกว่า ผมปรารถนาว่าอยากจะกลับไปทำในสิ่งที่เป็นความฝัน
ดั้งเดิมแต่ตอนนี้ผมทำไม่ใด้แล้ว สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผมรักและอยากที่จะทำมากที่สุด
จานีน: อาจารย์กล่าวกับดิฉันว่าสื่อมวลชนทำให้อาจารย์มีชื่อเสียงมากขึ้น บางที
ดิฉันอาจเป็นเหตุผลว่าทำไม อาจารย์ถูกรบกวนมากขึ้น ถ้าดิฉันติดตามและเผยแพร่
ผลงานของอาจารย์
เกรียงไกร: ผมก็ไม่ทราบจริงๆ ว่าทำไมแต่อาจารย์ไม่ได้เป็นเพียงเหตุผลเดียวที่ผม
ถูกรบกวน ชื่อเสียงที่มากมายสร้างปัญหาให้กับผม มีงานเข้ามามากขึ้น แต่มีเวลา
ให้กับการทำงานน้อยลง ผมไม่ค่อยสะดวกที่จะพบปะผู้คนตอนที่กำลังยุ่ง สิ่งที่ผม
ต้องการมากกว่าคือเวลาที่ใช้สร้างและขัดเกลาผลงานให้ดีและมีคุณภาพสูงสุด ทุก
วันนี้คนที่อยู่รอบตัวคาดหวังจะให้ให้ผมทำงานให้แต่ผมไม่มีเวลา วิหาร วรรณีหลังนี้
ยังเป็นโครงการระยะยาวของผมและทีมงาน เราต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานให้เสร็จ
สิ้น โชคร้ายที่สมาชิกในทีมงานคนหนึ่งเสียชีวิตโดยที่ผมไม่มีโอกาสได้กล่าวคำ
อำลาให้กับเขาเลย การตายของเขาทำให้ผมตระหนักได้ถึงบางสิ่ง
จานีน: สิ่งนั้นคืออะไรคะ
เกรียงไกร: ทำไมเราต้องรอนานกว่าจะถึงเวลาตายของเรา ถ้าเราตายเร็วบางที
อาจจะทำให้คน จดจำสิ่งดีๆที่เราได้ทำตลอดชีวิต เราเกิดมาและในไม่ช้าพวกเราทุก
คนต้องตายไปโดยที่ไม่มีข้อยกเว้น การตายเร็วนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรคิดว่า
เป็นเรื่องธรรมดาที่ถูกกำหนดโดยธรรมชาติ
นี่เป็นไอเดียที่เขาอยากให้ดิฉันได้ลองคิดดู การพูดคุยกับศิลปินที่เป็นเพื่อนกัน
บางครั้งก็ทำให้ดิฉันได้พิจารณาเกี่ยวกับตนเองและโลก ความขัดแย้งและการ
โต้เถียงเล็กน้อยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่อย่างน้อยดิฉันก็พยายามเป็นผู้ฟังที่ดี
จานีน: โครงการนี้จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อไหร่คะ ดิฉันอยากเขียนบทความของงาน
จิตรกรรมที่นี่แล้ว
เกรียงไกร: คงจะใช้เวลาอีกปีหนึ่งที่จะทำทุกอย่างให้เสร็จ16 ปีผ่านไปเร็วมาก ผม
ยังอยากวาดจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ไปจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์
จานีน: ดิฉันจำได้ว่าสีเดิมคือสีเหลืองกับสีม่วงแต่ตอนนี้ทำไมกลายเป็นสีเหลืองกับสี
เขียว แต่ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรดิฉันก็ชอบ รูปคนที่อยู่ในงานจิตรกรรมฝาผนังก็ยังคงเป็น
ชาวล้านนาเหมือนเดิม
เกรียงไกร: ผมได้ปรับสีให้มีความเหมาะสมมากกว่าเดิม ผมเพิ่มคนเข้าไปในภาพ
มากขึ้นโดยเฉพาะพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดช อาจารย์ ตามผมมาถ่ายภาพเพิ่มเติมได้ครับ
อาจารย์เกรียงไกรพาดิฉันเข้าไปดูภาพในตัววิหารและคอยบอกดิฉันว่าจะถ่ายรูป
ตรงไหนได้บ้าง
จานีน: ดิฉันขอบคุณมากที่ได้เพิ่มเติมรูปภาพพระราชาที่เป็นที่รักของเราในหลายๆ
จุดภายในภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นวีธีที่ดีในการระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ
พระองค์ที่มีต่อประชาชนชาวไทย ดิฉันได้เห็นว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมดมี
รายละเอียดมากกว่าเดิมและสามารถเปลี่ยนไปตามการพิจารณาของอาจารย์ หลายปี
ที่ผ่านมาผู้คนก็มาที่นี่เพื่อมาชมภาพจิตรกรรมฝาผนังและการตกแต่งภายในอาคาร
อาจารย์ก็ยังมาเพิ่มเติมลายละเอียดลงในภาพจิตรกรรมฝาผนัง
เกรียงไกร: ผมมีคำถามจะถามอาจารย์อยู่ข้อหนึ่ง ทำไมอาจารย์ อยากวาดรูป
อาจารย์เกรียงไกรเห็นดิฉันถือเฟรมวาดรูปผ้าใบและสีจำนวนหนึ่งเลยถามขึ้นมา
จานีน: ดิฉันอยากวาดรูปและอยากถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกฝนทำงานศิลปะ
ดิฉันไม่ว่าทราบจะทำอย่างไรที่จะทำให้รูปนี้เสร็จสมบูรณ์ ดิฉันไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่อง
ความสุขและทุกข์เมื่อได้วาดภาพ ภาพถ่ายต้นฉบับเป็นรูปงานประเพณีสงกรานต์
จังหวัดเชียงใหม่โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่ามันยากที่
จะเพิ่มรายละเอียดลงในภาพวาดเพราะว่ามีกิจกรรมมากมายอยู่ในนั้น อาจารย์ มี
ความเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ
เกรียงไกร: ขอพูดตามตรงนะครับ ที่อาจารย์ตัดสินใจวาดในรูปแบบที่ต่างออกไป
จากงานของผมที่เป็นแนวคิดไทยแบบดั้งเดิม ดูที่ภาพของอาจารย์แล้วผมเห็น
ผู้หญิงสวมเครื่องแต่งกายแบบพม่าแทนที่จะเป็นแบบล้านนาไทย น่าจะกล่าวได้ว่า
รูปแบบภาพวาดเป็นแบบศิลปะพื้นบ้าน ไม่ได้เป็นแบบพื้นเมืองไทยจริงๆ ผมอยากชี้
ให้อาจารย์เห็นว่า อาจารย์ยังไม่มีความรู้ และไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะวาดรูปโดยใช้
แนวคิดไทยพื้นเมืองแบบดั้งเดิม แต่ที่ทำก็ดีอยู่แล้วนะครับ ไม่จำเป็นที่จะต้อง
เพิ่มเติมรายละเอียดให้มากเกินไป
สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอาจารย์ ก็คือให้ วาดอะไรสักอย่างออกมาจากสิ่งที่ มองเห็น
อาจเริ่มต้นด้วยการสเก็ตภาพด้วยดินสอก่อน เนื่องจากว่าอาจารย์ไม่ได้เป็นศิลปินที่
เรียนศิลปะในสถาบันที่สอนศิลปะ จึงไม่เป็นไรที่จะฝึกฝนโดยการคัดลอกภาพถ่ายที่
ชอบ ถ้าเขียนภาพแล้วมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน อาจารย์ต้องคิดต่อไปอีกว่าจะแก้
ปัญหาอย่างไร สำหรับเรื่องสี เป็นการตัดสินใจของเราเองที่จะเลือกว่าอะไรคือสีที่ดี
ที่สุดสำหรับภาพเขียน ให้จำไว้ว่าอะไรก็ตามในภาพวาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้
หมดตามแต่จินตนาการของเราเอง ไม่จำเป็นจะต้องคัดลอกภาพมาทั้งหมดเพราะมัน
ไม่มีประโยชน์และไม่จำเป็นแม้กระทั่งในการฝึกฝน สำหรับเรื่องเส้นต่างๆ แสงและ
เงา เราสามารถคัดลอกงานออกมาจากภาพถ่ายได้ถ้า ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี สำหรับ
เรื่องสิ่งปลูกสร้าง ภาพเขียนสมัยใหม่จะใส่ใจกับความสมจริงในมุมมองแบบ
เปอร์สเปคทีฟ ส่วนภาพเขียนแบบดั้งเดิมจะไม่สนใจในเรื่องนี้ นี่เป็นความแตกต่างที่
ต้องนึกเอาไว้ในใจ
จานีน: ขอบคุณมากนะคะ ดิฉันรู้สึกมีความสุขมากที่ได้พบอาจารย์และขอขอบคุณที่
ให้คำแนะนำหลายๆ อย่าง ดิฉันหวังว่าอาจารย์จะได้รับการสนับสนุนในการทำงาน
ศิลปะต่อไป เมื่อลองมองดูภาพที่ตัวเองวาดขึ้นมา ถึง มันไม่ใช่ความสุขแต่ดิฉันพบ
สิ่งอื่นที่อยากทำนอกเหนือไปจากการเขียนหนังสือ ในตอนที่กำลังทำงาน ดิฉันคอย
ถามตัวเองว่าอะไรคือวิธีแก้ไขปัญหาที่พบเจออยู่ในปัจจุบัน ดิฉันพยายามตั้งสติด้วย
ตัวเองอยู่กับรูปภาพที่อยู่เบื้องหน้าและพยายามหาวีธีที่ดีกว่าในการแก้ปัญหาเหล่านี้
ดิฉันเห็นด้วยที่ว่า เวลานั้นมีค่า
เกรียงไกร: ผมบอกอาจารย์ ไปหลายครั้งว่าผมไม่สนับสนุนให้ลูกเป็นศิลปินเหมือน
ผม ผมถามลูกด้วยคำถามเดียวกันกับอาจารย์ ที่ว่า ทำไมถึงอยากวาดรูป
จานีน: ดิฉันได้ยินมาว่าลูกสาวคนเล็ก ของอาจารย์เรียนอยู่ ในคณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์เกรียงไกรเงียบไปสามวินาทีแล้วจึงกล่าวว่า
เกรียงไกร: ลูกสาวผมไม่จำเป็นต้องวาดรูปครับ เธอเรียนศิลปะสมัยใหม่ ผมไม่คิดว่า
เธอจะชอบวาดรูปมากนักหรอก
*
นี่คือบทสนทนาแบบไม่จริงจังระหว่างดิฉัน ที่เรียกตัวเองว่านักเขียน และศิลปิน
มีอีกหลายอย่างที่เป็นเหมือนระเบิดลูกใหญ่อยู่เบื้องหน้าเรา
ที่พร้อมจะระเบิดในอีกไม่ช้า...
|