งานศิลปะของเจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะนั้นมีรากฐานอยู่ที่ทางภาคใต้ของประเทศ ไทย ในจังหวัดปัตตานี งานของเขาได้รวมเอาเส้น สี ลักษณะและวิถีการใช้ชีวิต ของชาวมลายูบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เขาได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จากการประกวดงานศิลปะหลายครั้งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2555 งานที่เต็ม ไปด้วยสีสันมีคุณลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนซึ่งสะท้อนความรักและความเข้าใจใน ภูมิลำเนาอย่างลึกซึ้ง และยังแสดงงานศิลปะร่วมกับเด็กนักเรียนและนักศึกษาที่อยู่ ในชุมชนแถวนั้นโดยสอนให้รู้ถึงเป้าหมายและจุดประสงค์ของงานศิลปะ ซึ่งผลงาน ที่มีความหมายลึกซึ้งนี้จะพบมากในศิลปะตะวันตก ปัจจุบันนี้คุณเจะอับดุลเลาะ กำลังดูแลงานก่อสร้างหอแสดงงานศิลปะในจังหวัดปัตตานี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางภาคใต้ของประเทศ ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2510 นามของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระบิดาของพระองค์ น้ำทะเล สีบลู เสมือนเป็นรั้วคอยปกป้องมหาวิทยาลัย หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้เป็น สถานที่ดีสำหรับการชมเรือจอดเทียบฝั่ง ชีวิตที่นั่นดูเรียบง่ายมาก นกเหยี่ยวตัว ใหญ่และนกพันธ์อื่นๆบินอยู่เหนือน้ำทะเลที่ส่องประกายระยิบระยับในตอนกลางวัน
เป็นภาพที่ดูงดงามจริงๆ สามารถจะกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็น หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรักษาตำแหน่ง มหาวิทยาลัยหนึ่งในสิบอันดับแรกของประเทศไทย เมื่อเดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2552 อยู่ที่ตำแหน่ง 175 ของโลก
เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะเป็นอาจารย์ชาวไทย มุสลิมที่สอนวิชาศิลปะที่ภาควิชา ทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปีพ.ศ. 2548 เขาได้รับ ทุนจากมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรมติณสูลานนท์ ในปีพ.ศ. 2548 และ 2549 เขา ได้รับทุนจากสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อแสดงผลงานทัศนศิลป์ ปีพ.ศ. 2551 เขาได้รับรางวัลเหรียญทองจากกองทุนธนาคารกรุงเทพ ปีพ.ศ. 2554 เขา ได้รับรางวัลที่หนึ่งจากธนาคารกรุงไทยที่งานงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 57 และภายในปีเดียวกันนั้นเองเขาไปศึกษาดูงานที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลีโดย ได้รับทุนจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย
จากนี้ไปเป็นแนวคิดของเขาในเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่รอบข้าง
ประวัติส่วนตัว
ผมเกิดที่จังหวัดปัตตานีในปีพ.ศ. 2526 และใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาเล่าเรียนที่นั่น จนกระทั่งปีพ.ศ. 2548 ปีพ.ศ. 2552 ผมสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์มหาบัญฑิต จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 – 2555 ผมได้รับรางวัลจากการประกวด ศิลปะแทบทุกปี ในปีพ.ศ. 2555 ผมได้จัดงานศิลปะเดี่ยวที่มีชื่อเรียกว่า นิทรรศการรูปลักษณ์ของชาวมลายูท้องถิ่นปัตตานี ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 – 2555 ผมจัด แสดงผลงานทางวิชาการด้านศิลปะทุกปี
ความชื่นชอบในการสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยและขยายความชื่นชอบนั้นออกมา ยังจังหวัดปัตตานี
ความตั้งใจของผมคือสร้างคุณภาพและมาตรฐานของงานศิลปะทางภาคใต้ของ ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะที่ผมเป็น อาจารย์มหาวิทยาลัย ผมมีโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้กับนักศึกษา ผมอยากเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นหนุ่มสาวแสดง ความสามารถทางศิลปะได้อย่างเต็มที่ ผมตั้งเป้าหมายสร้างหอศิลป์ที่บ้านเกิดของ ผมในจังหวัดปัตตานี หอศิลป์จะมีทั้งส่วนแสดงงานถาวร และห้องแสดงงานศิลปะ เป้นครั้งคราว สิ่งที่ผมอยากจะเห็นคืองานศิลปะที่แสดงความเฉพาะตัวในท้องถิ่น แต่งานศิลปะเช่นนี้สามารถสร้างความเข้าใจใด้ในระดับสากลด้วยเข่นกันโดยไม่ ต้องคำนึงถึงเชื้อชาติหรือความเชื่อ งานศิลปะที่นำมาแสดงจะเป็นรูปแบบอะไรก็ได้ ผมคิดว่างานศิลปะเหล่านี้จะเป็นจุดเปลี่ยนผันของความรู้สึกและพฤติกรรมสำหรับผู้ สร้างสรรค์และผู้รับชม
ผมหวังว่าในอนาคตเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในสภาพแวดล้อม ทางสังคมการเมืองและงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งเหล่านี้ ผมยั้งไม่ สามารถที่จะกำหนดเวลางานของผมได้ อาจใช้เวลามากถึงสิบปีหรือนานกว่านั้นที่ จะทำทุกอย่างให้เสร็จ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องของทรัพยากรและงบประมาณ ผมใช้ เงินออมส่วนตัวเป็นทางหลักในการให้ทุนกับโครงการ อย่างไรก็ตามความ ช่วยเหลือจากแหล่งเงินทุนจากภายนอกและองค์กรต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดี และจำเป็นต่องานทำให้งานสำเร็จเร็วขึ้นกว่าเดิม
เรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางภาคใต้ของประเทศไทย
มีองค์ประกอบหลักสามประการที่มีส่วนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง อย่างแรกคืองาน ศิลปะที่ดีจะต้องมีคุณถาพและมาตรฐานสูง อย่างที่สองคือมีศิลปินผู้สร้างผลงานที่ มีคุณภาพและมาตรฐานสูง อย่างที่สามคือสถานที่จัดทำและแสดงผลงานอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่ดีนั้นจำเป็นมาก ตอนนี้เรามีองค์ประกอบที่หนึ่งและที่สองแล้ว แต่ อันที่สามยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพราะเรื่องเงินจำนวนมากที่จะต้องนำมา ลงทุนก่อสร้างอาคารที่เหมาะสม สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปคือแจ้งให้บุคคลทั่วไป ทราบเกี่ยวกับงานกิจกรรมต่างๆ เพื่อที่ผู้คนทั้งหลายเหล่านั้นมาเยี่ยมชมงานศิลปะ และบางทีมอบเงินสนับสนุนให้
งานศิลปะสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ในคิดความคิดเห็นของผมทุกสิ่งมีบทบาทของตัวเองในการให้แรงบันดาลใจหรือมี อิทธิพลกับวิธีที่คนผลิตงานศิลปะ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ว่างานสร้างสรรค์นั้นทำ ด้วยฝีมือของมนุษย์หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าและไม่สำคัญว่างานเหล่านั้นเกิดขึ้นมาจาก ธรรมชาติหรือจากเทคโนโลยี แน่นอนว่างานศิลปะมีอิทธิพลมาจากหลายสิ่งหลาย อย่างเช่นสถานที่ ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา การเมืองและ เศรษฐกิจ นอกจากนี้การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยียังมีผลต่อการทำงานและการ ใช้ชีวิตในปัจจุบัน
ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้ทุกคนมองเห็นและทราบซึ้งกับงานศิลปะให้มากกว่านี้ นอกเหนือไปจากเรื่องศาสนาแล้วงานศิลปะยังเป็นวิธีที่ดีในการดูแลจิตใจจาก อาการเจ็บปวดทางใจ ผมอยากให้ผู้คนมองดูศิลปะจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย ศิลปะที่คุณค่าสร้างมาจากความไม่สงบและความรุนแรงในท้องที่ นั้น เหมือนกับดอกไม้สวยงามที่เติบโตในกองเพลิง ผมยังอยากให้คนสนับสนุน ศิลปะจากทางภาคใต้เพราะมีความเป็นเอกลักษณ์และมอบประสบการณ์ที่แตกต่าง จากจังหวัดอื่นๆในประเทศไทย
|